ประวัติ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี


พระครูโศภณศาสนกิจ นามเดิมว่า กลิ่น ท่านเกิด ณ วันอังคารขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู สัปตศก 1227 เวลา 2.00 น.ลักขณาสถิตเตโชธาตุ ราศีสิงค์ ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2408 บิดาชื่อนายเปลี่ยน มารดาชื่อนางอิ่ม จันทร์เปลี่ยน ท่านเป็นพี่ชายใหญ่เเละมีน้องสาวอีกคน บ้านเดิมของบรรพบุรุษอยู่ที่ตำบลบ้านเเพรก อำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่ออายุได้ 11 ปี ท่านได้ไปศึกษาอักษรวิธี ที่วัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี การศึกษาของท่านในครั้งนี้เป็นการศึกษาในอักษรไทย
ครั้นอายุได้ 17 ปี ท่านได้บรรพชา เเละได้ศึกษาอักษรขอมเเละบาลี ในสำนักท่านอาจารย์อิน วัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี เมื่ออายุได้ 19 ปี โยมผู้หญิงของท่านได้ถึงเเก่กรรม ท่านจึงได้ลาเพศบรรพชาเเล้วกลับมาอยู่บ้านเดิมของท่าน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายมาอยู่กับท่านอาจารย์เอี่ยม วัดสะพานสูง ตำบลบ้านเเหลมใหญ่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในฐานะเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เอี่ยม พ.ศ. 2428 ท่านอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 (เเปดหลัง) ปีระกา ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม ณ พัทสีมา วัดสะพานสูง พระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รุ่ง วัดท้องคุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดสัลเลข (วัดสาลีโข) เมื่อท่านอุปสมบทเเล้ว มีฉายาว่า จนฺทรงฺสี ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดสะพานสูงตลอดมาท่านชอบศึกษาหนักไปทางวิปัสสนาธุระ พร้อมทั้งได้ศึกษาทางเวชศาสตร์จากพระอาจารย์เอี่ยม เป็นจำนวนมาก จนถึงเมื่อกาลพระอาจารย์เอี่ยมได้ถึงกาลมรณภาพไปเเล้ว การศึกษาเวชศาสตร์ของท่านจึงได้เบาบางลง
...บทความทั้งหมด พี่เกร็ดเพชรได้คัดลอกจากหนังสือเเจกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ปี 2490...
ต่อครับ...
พ.ศ. 2438 ท่านได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง โดยความเห็นพร้อมกันเป็นเอกฉันท์ในทางฝ่ายประชาชนเเละท่างคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระปรีชาเฉลิม(เเก้ว) วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้อนุมัติ เมื่อท่านได้รับตำเเหน่งเจ้าอาวาสเเล้ว ปรากฎว่าท่านเป็นผู้มักน้อย ไม่ต้องการเเสวงหา หรือสะสมในสิ่งที่ไม่จำเป็น ถือสันโดษ ไม่มีโลภะเจตนา พร้อมทั้งได้วางหลักการปกครองวัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดมั่นในสันติวิธีทุกประการท่านมีอุปนิสัยหนักไปทางข้อวัตรปฎิบัติ เเละ ปฎิสังขรวัดวาอาราม ฉะนั้นนับเเต่ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูงเเล้ว ท่านจึงเริ่มสถาปนาวัดให้เจริญขึ้นตามลำดับ อีกประการหนึ่งท่านเป็นผู้สนใจในทางคันถธุระ คือ การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อนุชนร่นหลังได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี เเม้ในทางปริยัติท่านได้จัดหาครูมาสอนเเละได้จัดหาสถานที่เรียน พร้อมทั้งท่านได้จัดหาหนังสือมาไว้มากมาย ยังความสะดวกเเก่ผู้ศึกษา อนึ่งท่านเป็นผู้ชำนาญในทางเวชกรรม ท่านจึงได้จัดพิมพ์ตัวยาที่ท่านเคยใช้ ไว้ข้างท้ายนี้ตามสมควร ในทางอิทธิเวช ท่านได้ศึกษามาได้อำนวยเเก่บรรดาศิษย์เเละบุคคลอื่นๆที่เจ็บป่วยมาให้หายจากโรคต่างๆ ในทางคาถาอาคม ท่านได้ปลุกเสกเลขยันต์ ย่อมเป็นที่ซาบซึ่งในอิทธิปาฎิหารย์ เเก่ศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกเเหวนมงคลเก้า เเละเสมารูปสมเด็จพระสังฆราช ของราชการหลายครั้งด้วยกัน นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ชำนาญท่านโหราศาสตร์อีกด้วยโดยอาศัยวิชาความรู้เเละคุณธรรมของท่าน ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของบรรดาศิษย์เป็นอย่างยิ่ง
ครั้นต่อมาในปี 2447 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลบ้านเเหลม ..เมื่อวันที่ 9 พฤษจิกายน 2467 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็น พระครูโสภณศาสนกิจ
ปี 2479 ได้รับตำเเหน่งกรรมการศึกษาประจำอำเภอปากเกร็ด
ปี 2482 ได้รับตำเเน่งเป็นพระอุปัชฌา
ปี 2487 ท่านได้ตำเเหน่งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ ในตำเเหน่งองค์การสาธารณปการณ์
ครั้นย่างขึ้นปี พ.ศ. 2490 ท่านย่างเข้า 82 ปี ท่านได้เริ่มป่วยด้วยโรคชราเล็กน้อย เเต่ยังไปไหนมาไหนได้เป็นปกติ ครั้นต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2490 เวลา 4.00 น.ท่านได้เริ่มป่วยเป็นลมหน้ามืด มีอาการเสียดเเทงขึ้นตามเส้นสูญของท้อง เมื่อฉันยาเเล้ว อาการก็หายปกติ ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 ท่านมีอาการกำเริบอีก ในวันที่ 8 อาการท่านไม่ทุเลาลง เเต่รุนเเรงทวีขึ้นตามลำดับ นายเเพทย์ได้ฉีดยาเเละถวายยาให้ฉัน อาการก็ทรงอยู่เป็นพักๆ ตามความเห็นของเเพทย์ลงความเห็นว่า กระเพาะอาหารเเละลำไส้หยุดทำงาน ครั้นถึงเวลา 19.00 น. ไตได้หยุดทำงานไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ อาการก็ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงเวลา 1.10 น. ของวันที่ 8 มกราคม 2490 ท่านจึงไดมรณภาพลงท่ามกลางพยาบาลที่รักษาเเละบรรดาศิษย์ สิริรวมอายุได้ 82 ปี โดยประมาณพรรษากาลได้ 61 พรรษา การมรณภาพของท่านได้นำพาวิปโยคมาสู่ศิษย์