พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสริโก

พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสริโก

เขียนโดย ชินพร สุขสถิตย์
Wednesday, 20 February 2008
๓๔ ปีที่แล้วหลวงปู่ทิม อิสริโก พระภิกษุแก่ๆ เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ บ้านหนองบัว ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ได้อนุญาตให้ผมสร้างพระชุดชินบัญชร เพื่อเป็นของตอบแทนผู้ที่จะร่วมบริจาคเงินเพื่อซ่อมสร้างถาวรวัตถุ ในวัดละหารไร่ ซึ่งกำลังชำรุดทรุดโทรม ศาลาไม้หลังเก่า (รื้อไปแล้ว) กำลังผุโย้เย้ พระอุโบสถซึ่งสร้างด้วยไม้ พระประธานซึ่งปั้นด้วยดินดิบโดยฝีมือของหลวงปู่ทิมเอง กำลังพังพื้นอุโบสถที่เป็นดินดิบแบบแข็งกะเทาะ พื้นเจิ่งนองไปด้วยน้ำ มีเพียงพระอุโบสถซึ่งกำลังก่อสร้างแต่ยังไม่แล้วเสร็จ หลวงปู่ทิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่มาตั้งแต่หนุ่มๆ ผมไปพบเมื่อท่านมีอายุ ๙๔ พรรษาที่ ๗๑ ท่านบวชตั้งแต่อายุ ๒๓ ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ครองวัดมานานหลายสิบปี
แต่ท่านไม่ได้สร้างถาวร วัตถุอะไรเลย! มาสร้างเอาในบั้น ปลายชีวิตของท่าน

และท่านรอให้ผมเป็นคน ไปสร้าง !

พอสร้างใกล้เสร็จท่านก็ มรณภาพ !


พวกเราคิดว่าท่านคงอยู่จนอายุถึง ๑๐๐ ปี เพราะขณะนั้นท่านยังแข็งแรง
กระฉับกระเฉง ผมจึงสร้างพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อดีบุก ขึ้น ๕,๐๐๐ องค์ ตั้งใจว่าจะเอาออกให้บูชาเมื่อหลวงปู่ทิมมีอายุ ครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๒ แต่หลวงปู่ทิมท่านก็มามรณภาพเมื่ออายุ ๙๖ ปี และเพิ่งจะฉลองอายุครบ ๘ รอบ ๙๖ ปี ไปเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๘ ได้เพียง ๔ เดือน พอดิบพอดี ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๘ วัดละหารไร่ และมูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก ก็ได้ทำบุญสัตตมาวารทุกปี
ตลอดเวลาเกือบ ๓๔ ปี ที่ผ่านมาวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิม ทุกชนิดทุกแบบทุกพิมพ์ค่อยๆ โดดเด่นโด่งดังขึ้นมาตลอดเวลา ไม่ใช่โด่งดังขึ้นมาเพราะแรงเชียร์จากหนังสือพระเครื่องดัง เช่นที่มีการว่ากล่าวกันในครั้งที่ผมสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทิมขึ้นมาใหม่ๆ ว่าพระเครื่องหลวงปู่ทิมดังเพราะผมมีหนังสือเชียร์ และในยุคนั้นไม่มีหนังสือพระเครื่องเล่มใดลงเรื่องหลวงปู่ทิมเลยนอกจากจะไม่ลงแล้วยังค่อนขอดด่าทอเอาอีก ก็มีจนถึง ขั้นจะลงไม้ลงมือกันก็หลายครั้ง แต่พระเครื่องหลวงปู่ทิมก็ดังขึ้นเรื่อยๆ มีประสบการณ์แก่ผู้ใช้ อย่างเหลือเชื่อ ระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบครึ่งอายุคนเป็นข้อพิสูจน์ และยืนยันเป็นอย่างดีว่า พระเครื่องของหลวงปู่ทิมโด่งดังขึ้นมา ตามธรรมชาติให้คุณแก่ผู้ใช้ทันตาเห็น และผู้ใช้เป็นผู้บอกกล่าว เล่าลือแนะนำกันต่อๆไป ใช่ดังเพราะแรงเชียร์ ผมเองก็แปลกใจไม่น้อยพระเครื่องที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน โดยเฉพาะพระกริ่งที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์กันขนานใหญ่ แต่นานเข้าเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเงียบสนิท !




พระกริ่งชินบัญชรองค์ต้นแบบ เททองหล่อ บนดอยแม่ปั๋ง จำนวน ๕ องค์ นำองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดมาแต่งเป็นต้นแบบ ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งใหญ่จีนราชวงค์ถัง ด้านหลัง ใต้ฐาน







พระกริ่งต้นแบบที่นำไปตบแต่งเป็นพระกริ่งชินบัญชรถอดจากพระกริ่งใหญ่ราชวงค์ถัง


ด้านหลัง ใต้ฐาน



เมื่อพระกริ่งชินบัญชร ออกใหม่ๆ กลางปี ๒๕๑๗ ผู้จองต่างผิดหวังที่พระออกมาไม่สวย พระกริ่งที่ออกให้บูชาองค์ละ ๓๐๐ บาท เมื่อออกแล้ว มีผู้เอามาขายคืน ผมรับคืนจนใจเสียเลยปรารภให้หลวงปู่ทิมฟัง ท่านบอกผม "ก็รับไว้เถิด อีกหน่อยพลิก แผ่นดินหาก็ไม่เจอ" ....เมื่อกาลเวลาผ่านไปไม่กี่ปีก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคำพูดของ ท่านเป็นจริง หลังจากหลวงปู่ทิมพูดประโยค นี้ได้เพียง ๒-๓วัน ผู้จัดการธนาคาร สหกรณ์การเกษตร สาขาระยอง ในสมัยนั้นมาบูชาพระกริ่งชินบัญชรที่ผมรับคืนมาไปหมดในราคาเดิม และบอกว่ามีเท่าไร เอาหมดเพราะคุณเฆมี นำพระกริ่งชิน บัญชรไปอธิษฐานตัดรุ้งกินน้ำ ขึ้น ไปตัดกันบนดาดฟ้าหลังคาธนาคาร พนักงานธนาคารเห็นกันเกือบทุกคน และอีกไม่กี่วันถัดมาเถ้าแก่เรือประมงหลายลำมาหาพระกริ่งชินบัญชรกันถึงวัดละหารไร่ เขาเล่าให้ผมฟังว่า ไต้ก๋งเรือของแกเป็นคนบ้านค่าย บอกว่าหลวงปู่ทิมเป็น พระซุ่มแบบเสือซ่อนเล็บ ท่านเก่งจริงๆ อีแนะให้อั๊วเอาพระกริ่ง ติดไว้บนเสากระโดงเรือทั้ง ๔ ทิศ แล้วจะรอดตัว เพราะเวลานั้น เรือประมงมักถูกจม หรือไม่ก็โดน ทหารเรือญวณจับ อั๊วก็ทำตาม อีบอก เรือที่ออกพร้อมๆ กัน ๖-๗ ลำ มีเรือของอั๊วลำเดียวที่หลบ รอดทหารเรือญวณได้ทุกครั้ง

หลวงปู่ทิมจุดเทียนชัย
เมื่อหลวงปู่ทิมจุดเทียนชัยพระสงฆ์ ๙ รูป มีหลวงพ่อสิน พระอาจารย์สาคร หลวงตาบาง สวดชยันโต




หลวงปู่ทิมมอบให้ ชินพร สุขสถิตย์ ผู้สร้างจุดเทียนบูชาฤกษ์ “เทวีฤกษ์”
หลวงปู่ทิมพรหมน้ำพระพุทธมนต์ เบ้าพระกริ่ง, พระชัย, พระสังกัจจายน์และพระปิดตาปุ้มปุ้ย






หลวงปู่ทิมเททอง พระอาจารย์ทองเจือ และพระ อาจารย์เชย เจ้าอาวาส วัดละหารไร่


องค์ปัจจุบันช่วยจับสายสิญ จะเห็นกระบอกเบ้า


พระกริ่งจำนวนมากเพราะพระทุกองค์เทในพิธี

ขณะเททอง หลวงปู่ทิมนั่งปรก ปลุกเสกเดียวตั้งแต่ ๐๘.๓๙ – ๑๖.๔๙ น.






หลวงปู่ทิมจะหยุดพักบ้างระหว่างรอการหลอมทอง หลวงปู่ทิมกำลังชมช่อพระชัยวัฒน์ ทองคำช่อแรก เมื่อวันเททองหล่อพระกริ่งชินบัญชรเพราะ เมื่อได้ฤกษ์ต้องเทพระชัยวัฒน์นำฤกษ์ก่อน





สำหรับกรรมวิธีในการ สร้างพระกริ่งชินบัญชรเท่าที่จด จำได้มีดังนี้ พระกริ่งชินบัญชร ประกอบพิธีเททองหล่อที่ลานวัดละหารไร่ (ตรงกับบริเวณอันเป็นที่ตั้งของศาลาภาวนาภิรัต) เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล เวลา ๐๘.๔๙ ลัคณาสถิตย์เทวีแห่งฤกษ์วางฤกษ์ พอได้เวลา ๐๖.๔๕ น. หลวงปู่ทิมจุดเทียนชัย พระสงฆ์ ๙ รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล้ว สวดคาถาจุดเทียนชัย (ฤกษ์ใน การจุดเทียนชัย) อาจารย์เทพ สารีบุตร เป็นผู้กำหนดให้ ส่วน เทียนชัยนั้นคุณนิรันดร์ แดงวิจิตร (พระครูหนู) แห่งวัดสุทัศน์ฯ เป็นผู้จัดทำโดยใช้เทียนบริสุทธิ์ หนักถึง ๘๐ บาท ใช้ใส้เทียน ๙๕ เส้นเท่าอายุหลวงปู่ทิม ขวั้นเทียน สูง ๑๕๘ เซ็นติเมตร สูงเท่ากับตัว หลวงปู่ทิม และนอกจากนั้น คุณนิรันดร์ แดงวิจิตร (พระคลังหน) ยังกรุณา มอบเจ้าน้ำเงินของสมเด็จพระ สังฆราชแพให้มาอีกเล็กน้อยด้วย

พระกริ่งทองคำหมายเลข ๑



เมื่อได้ฤกษ์เททองหล่อ พระกริ่ง เวลา ๐๘.๔๙ น. พรหมณ์ ได้ลั่นฆ้องชัย เป่าสังข์ และแกว่ง บัณเฑาะว์ แล้วอ่านโองการชุมนุม เทวดา โหรเป่าสังข์หลวงปู่ทิม กำหนดให้ผมเป็นผู้จุดเทียน บูชาฤกษ์สังเวยเทวดาแล้วหลวง ปู่ทิมจุดเทียนมหาพุทธา ภิเษก พระสงฆ์ ๙ รูป สวดชยันโต หลวงปู่ทิมจึงเริ่มเททองหล่อพระ ชัยวัฒน์ทองคำเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ เวลา ๐๘.๔๙ น. โดยมีพระอาจารย์ เชย (เจ้าอาวาสวัดละหารไร่องค์ ปัจจุบัน) และพระอาจารย์ ทองเจือ ธมมฺธีโร วัดปากน้ำ ช่วย จับสายสูตร การเททองหล่อพระ ทั้งหมดก็ได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เททองหล่อเสร็จหมดทุกองค์ภาย ในโรงพิธีจนถึงเวลา ๑๖.๒๙ น. โดย ตัวหลวงปู่ทิมได้อยู่เป็นประธานใน พิธีตั้งแต่เริ่มเททองพระชัยวัฒน์ ทองคำช่อแรกจนถึงพระปิดตา ปุ้มปุ้ยเป็นช่อสุดท้ายโดยมิได้ออก ไปจากโรงพิธีเลย ท่านไม่ฉันแม้ แต่น้ำ และในระหว่างพิธีเททอง หล่อพระกริ่งชินบัญชรครั้งนั้น เป็นฤดูฝนและเป็นระยะที่มีฝนตก ชุก เพราะดีเปรสชั่นหรือร่องลม มรสุม พัดผ่านฝนตกทั่วจังหวัด ระยอง แต่เป็นการมหัศจรรย์ บริเวณวัดละหารไร่ กลับไม่มี ฝนตกเลย รถยนต์ที่เข้ามาที่วัดจะ เปียกฝนทุกคัน แต่ภายในบริเวณ วัดละหารไร่ ไม่มีฝนตกเลยมีแต่ ละอองฝน ทำให้ร่มเย็นทั่วบริเวณ วัด จวบจนเมื่อหลวงปู่ทิมเททอง หล่อพระกริ่งเสร็จ ฝนจึงตกลงมา อย่างหนัก ผู้คนทั่วไปเห็นความ มหัศจรรย์นี้ จนถึงกับมีการขอ ซื้อใบจองพระกริ่งชินบัญชรกัน โดยเพิ่มราคาให้อีกใบละหลาย ร้อยบาทก็มี พระพุทธลักษณ์ของพระ กริ่งชินบัญชรนั้นได้ถอดแบบมา จากพระกริ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง จึงมีเค้าของศิลปะจีนอยู่ด้วย องค์ พระปางสดุ้งมาร หรือปางมาร วิชัยประทับนั่งบนโพธิบัลลังค์บัว ๒ ชั้น แปดกลีบ อันหมายถึงอริย มรรคแปดซึ่งเป็นเครื่องหมาย แห่งการหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ด้านหลังไม่มีบัว องค์พระอวบ อ้วน พระหัตถ์ซ้ายทรงวัชรพระ หัตถ์ขวาอยู่เหนือพระชานุขัด สมาธิ เพชรพระพักตร์อวบอ้วน พระโอษเม้มสนิท พระกรรณยาว จดบ่า พระเกศาเป็นเม็ดกลมๆ จัดว่าสวยงามพอสมควรใต้ฐาน ปิดด้วยแผ่นทองแดง เงิน และ ทองคำ พระทุกองค์จะมีหมายเลข กำกับ และตอกโค้ดกันปลอมไว้ที่ ด้านหลังเหมือนกันทุกองค์






พระชัยวัฒน์ กะไหลทองพระยาศุภกรณ์ฯสร้าง นำองค์นี้มาเป็นต้นแบบชื่อใต้ฐานว่า “รัตนุตะมะ”





พระชัยวัฒน์ เนื้อทองคำสร้าง ๕๖ องค์เท่ากำลังพระพุทธคุณ ๕๖ ตอกโคต๊ไว้ด้านหลัง



พระชัยวัฒน์ อุดผงพรายกุมารมีเพียง ๕ องค์ไม่ได้ต๊อกโคต๊ ๔ องค์(พระชัยวัฒน์มีเดือยก็ไม่ตอกโค๊ตเช่นกัน)
ด้านหลังพระชัยวัฒน์อุดผงองค์นี้ไม่ตอกโค๊ต เหมือนพระชัยวัฒน์มีเดือยที่ไม่ตอกโค๊ตเหมือนกัน) ใต้ฐาน





พระชัยวัฒน์ เนื้อนวะตอกโค๊ตปลายสังฆาฎิด้านหลัง,นอกจากนั้นยังมีพระชัยวัฒน์เนื้อนวะมีเดือยไม่ตอกโค๊ตอีกจำนวนหนึ่งด้วย
พระชัยวัฒน์ เนื้อนวะโลหะสร้างประมาณ ๑,๙๐๐ องค์ เพราะเสียหายมาก เพราะมีฝนโปรยมาในตอนเย็นระหว่างเททอง ทุกองค์ทั้งตอกโค๊ตไม่ตอกโค๊ต,มีเดือยล้วนเททองในพิธีและเสกครบสมบูรณ์โดยหลวงปู่ทิม









พระปิดตาชินบัญชรหรือพระปิดตาปุ้มปุ้ย ด้านหลัง





พระปิตดาปุ้มปุ้ยตอกนะในเม็ดงานไว้ใต้ฐานตัวนะมักจะเคลื่อนดูไม่ตรง



สำหรับพระชัยวัฒน์ในยุค นั้นมักถอดหรือเลียนแบบ หรือ ถอดแบบพระชัยวัฒน์ของสมเด็จ พระสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ เป็นส่วนมากแต่มีพระชัยวัฒน์ ของสมเด็จพระสังฆราชแพอยู่ พิมพ์หนึ่งที่ยังไม่เคยมีใครถอดแบบ หรือเลียนแบบเลย ก็คือ “พระชัย กะไหล่ทอง” นักนิยมพระเครื่องในยุค นั้นมีน้อยรายที่จะได้เห็นองค์จริง ของพระชัยกะไหล่ทอง แม้แต่ ภาพถ่ายก็ยังหาดูหาชมกันได้ยาก พอดีกับคุณเกื้อ บุนนาค อดีตนาย ช่างสำรวจกรมชลประทานไปได้ พระชัยกะไหล่ทอง มาจากคุณ ลำยอง วสุธาร หลานชายพระยา ศุภกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งและ พระชัยรุ่นพระยาศุภกรณ์ฯ ให้ สมเด็จพระสังฆราชแพ) หลาย องค์ ยินดีให้ยืมองค์ที่สวยที่สุด มาถอดเป็นต้นแบบ จึงเอาพระ ชัยวัฒน์กะไหล่ทองของสมเด็จ พระสังฆราชแพ องค์ที่สลักชื่อ ใต้ฐานว่า “ระตะนุตะมะ” มา ถอดแบบเพื่อให้สมใจนักเลงพระ ในยุคนั้นที่ต้องการมีพระชัยวัฒน์ กะไหล่ทองของสมเด็จพระสังฆราช แพ ซึ่งหายากที่สุด

ด้านหลัง ใต้ฐาน





พระสังกัจจายน์ฐานสูง ตอกโค๊ดนะในเม็ดงา ไว้ใต้ฐาน ด้านหลัง






พระสังกัจจายน์ฐานเตี้ยมีเดือยแต่ไม่ได้ตอกโค๊ด

พระสังกัจจายน์ฐานเดี้ย หน้า–หลัง ตอกโค๊ดนะไว้ใต้ฐาน




พระกริ่งทองคำเบอร์ ๙ ด้านหลัง ใต้ฐาน




พระชัยวัฒน์ พระกริ่ง พระสังกัจจายน์ และพระปิดตา มหาลาภ (ปุ้มปุ้ย) เมื่อเททองเสร็จ เมื่อเย็นวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๑๗ แล้วได้นำกลับไปตบแต่งที่โรงหล่อ อยู่เป็นเวลานานพอสมควร เสร็จ แล้วจึงนำกลับไปถวายให้หลวง ปู่ทิมปลุกเสกอีก ๗ วัน ๗ คืน จึงนำกลับมากรุงเทพฯ ไว้ที่บ้านผม พร้อมทั้งไปทำโค้ดตัวนะในเม็ดงา มาตอกแทนโค้ดตัวนะเอล พระ กริ่งชินบัญชรที่ทำเสร็จแล้วจึงมีดังนี้ ๑. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อ “สุวรรณชมภูนุต” หรือพระกริ่ง ชินบัญชรทองคำ จำนวน ๑๓ องค์ ทุกองค์จะตอกหมายเลขอักษร ไทยตั้งแต่ ๑-๑๒ ไว้ที่ ใต้ฐานมีโค้ด ตราศาลาตอกอยู่ใต้ฐาน ซึ่งปิดก้น ด้วยแผ่นทองคำ ด้านหลังตอก โค้ดเม็ดงาตัว (นะ) ไว้ทุกองค์เพื่อ กันปลอม สำหรับองค์หมายเลข ๑ ได้นำขึ้นถวายสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๘ ที่ พระราชวังสวนจิตรลดา สำหรับพระกริ่งทองคำ องค์ที่ ๑๓ ช่างสมร รัชนธรรม ผู้รับ สร้างเททองหล่อพระกริ่งชิน บัญชร ได้ปลดสายสร้อยคอ ทองคำหล่อไว้สำหรับตนเอง จึงไม่ได้ตอกหมายเลขลำดับที่ ๑๓ ไว้เช่นองค์อื่นๆ และไม่ได้ตอกโค้ด นะในเม็ดงา เพราะโค้ดที่ตั้งใจจะ ใช้ตอกเป็นเครื่องหมายก้นปลอม นั้นไม่สวย จึงไปแกะโค้ดตัวนะ มาใหม่ให้เป็นตัวนะอยู่ในเม็ดงา และมาตอกโค้ดที่บ้านผมพระกริ่ง ทองคำองค์ที่ ๑๓ จึงไม่ได้ ตอกโค้ด ตัวนะในเม็ดงา

พระกริ่งทองคำองค์ที่ ๑๓ ไม่ได้ตอกโค๊ดนะและเลข ด้านหลัง ใต้ฐาน






พระกริ่งชินบัญชรหมายเลข ๑ สลักชื่อชินบัญชรและ ๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น ด้านหลัง ใต้ฐาน



๒. พระกริ่งก้นทองแดง จะปิดแผ่นทองแดงไว้ใต้ฐานและ ตอกหมายเลข ๒-๒๕๙๕ (หมายเลข ๑ ใช้สลักชื่อ “ชินบัญชร” และ ๑) มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๕๙๕ องค์ เลข ๙๕ คืออายุหลวงปู่ทิม ในปี ๒๕๑๗ และ ตอกโค้ดตัวนะไว้ด้านหลัง ๓. พระกริ่งก้นเงินปิด แผ่นเงินไว้ที่ฐานตีโค้ดตราศาลาตอก ไว้ที่แผ่นเงิน และตอกโค้ดตัวนะ ไว้ที่ด้านหลังพระกริ่งก้นเงิน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิดคือ ก. เป็นชุดก้นเงินแจก กรรมการที่ทำบุญก่อนล่วงหน้า ๕๐๐ บาท สร้างจำนวน ๑๙๕ องค์ ด้านหลังตอกโค้ดตัวนะ ใต้ฐาน แผ่นเงินตอกโค้ดศาลา ชุดนี้ไม่ได้ ตอกหมายเลข ข. ก้นเงินอีกจำนวน ๑๙๕ องค์ เหมือนชุดแรก (ก) ทุกอย่างแค่ตอกหมาย ๑-๑๙๕ ไว้ที่ ด้านหลังทำเพื่อถวายวัดเจ้าเจ็ด ในนามพระอาจารย์ทองเจือ เพราะขณะนั้นท่านกำลังช่วยหาปัจจัย สร้างวัดเจ้าเจ็ด อ.เสนา จ.อยุธยา พระอาจารย์ทองเจือมี ส่วนช่วยเหลือการสร้างพระชุด ชินบัญชรเป็นอย่างมาก ค. กริ่งก้นหุ้มเงิน เนื้อ บรมพุทโธ จำนวน ๑๖ องค์ คุณ เพชร หลีแช (เจ้าของร้านอาหาร ไกรสิห์ บางลำภู) เอาเนื้อพระกริ่ง บรมพุทโธ จากในวังซึ่งอาจารย์ หน่ำ เก็บรักษาไว้มาเททองแยก เบ้าเทเป็นพิเศษ ๑๖ องค์ เป็น พระกริ่งสภาพดี ๙ องค์ อีก ๗ องค์ ไม่สวยเทไม่เต็มจึงเอามาแต่ง เสริมให้ครบ ๑๖ องค์ ก้นหุ้มเงิน บุ๋ม เป็นท้องกะทะ ผู้ที่ร่วมทำด้วยเห็น หุ้มก้นแบบนี้สวยดี จึงเอาพระกริ่ง ตีก้นเงินหุ้มไว้ใช้เองอีกประมาณ ๒๐ องค์ แต่ไม่เว้าเป็นท้องกะทะ รวมพระกริ่งก้นเงินและ ก้นหุ้มเงิน มีจำนวนทั้งสิ้น ๔๐๖ องค์ (สำหรับก้นหุ้มเงินที่ทำไว้ใช้ กันเองนั้น ทำจากพระกริ่งก้น ทองแดงที่ลำดับหมายเลขแล้ว)




พระกริ่งชินบัญชรก้นทองแดง องค์สุดท้าย ๒๕๙๕ เท่าอายุหลวงปู่ทิม ด้านหลัง ใต้ฐาน






พระกริ่งก้นหุ้มเงินตอกโค๊ด ตราศาลาไว้ ๒ ตัวและนะในเม็ดงา ที่สึกแล้ว ด้านหลังตอกโค๊ดนะในเม็ดงาที่สึกแล้วสร้างไว้ประมาณ ๒๐ องค์ (ด้านหลัง) ( ใต้ฐาน)






พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มเงิน ด้านหลังตอกโค๊ดนะในเม็ดงาที่เป็นมาตราฐาน ที่ยังไม่สึกใต้แผ่นเงินตอก ตราศาลา ที่เส้นล่างเริ่มสึกแล้ว สร้างไว้เพียง ๒๐ องค์ (ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)






พระกริ่งชินบัญชรก้นเงินตอกศาลาไว้ที่แผ่นเงินสร้าง ๒ ชุด, ตอกเลข ๑–๑๙๕ ถวายวัดเจ้าเจ็ดเพื่อร่วมสร้างพระอุโบสถ ไม่ตอกเลข ๑๙๕ องค์แจกกรรมการ (ด้านหลัง)







พระกริ่งชินบัญชรก้นเงินหมายเลข ๖ ถวายวัดเจ้าเจ็ดอยุธยา ตอกเลขไว้ฐานด้านหลังตั้งแต่ ๑–๑๙๕ องค์นี้เกราผิว (ด้านหลัง )






พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทองสร้าง ๑๖ องค์ ทุกองค์จะสลักเลข 9 หรือตอกเลข ๙ เหมือนกันหมดแผ่นทองต้องตอกตราศาลา องค์นี้ตราศาลาเส้นล่างเกือบขาดแล้วแต่ยังเห็นชัดเจน

๔. สำหรับพระกริ่งก้นหุ้ม ทองคำ ทำเป็นพิเศษเพื่อแจก กรรมการที่ร่วมทำงาน โดยเอา พระกริ่งทั้งก้นทองแดง และก้น เงินมาถอดก้นทิ้ง หรือเอาแผ่น ทองปิดทับลงไปเลยก็มี ตะไบเลข ทิ้งก็มี ทำครั้งแรก ๙ องค์ ไม่พอ แจกกันจึงทำเพิ่มอีก ๗ องค์ รวม เป็น ๑๖ องค์ แล้วนำไปให้หลวง ปู่ทิมเสกเพิ่มอีกครั้ง แล้วแจกเป็น ของขวัญขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อ ไม่ให้แย่งหมายเลข หลวงปู่ทิม บอกให้ตอกเลข ๙ ทุกองค์ ผู้ใช้จะได้มีแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองกันทั่วทุกคน




พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทอง ๑ ใน ๑๖ องค์ นอกจากตอกตราศาลาแล้วยังตอกเลข ๙ ไว้ถึง ๓ ตัวแทนการสลักเลข ๙ (ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)






พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทองคำองค์นี้ขอทำภายหลังเพื่อไว้ใช้เองนอกเหนือจาก ๑๖ องค์ตอกโค๊ดนะในเม็ดงาที่สึกแล้วไว้ด้านหลังมีจารด้วย อธิฐานถูกรางวัล ๖ ล้านบาท (คุณจินดา บุญเรือง เจ้าของ)(ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)






พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทองคำองค์นี้คุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ สร้างขึ้นจากพระกริ่งชำรุด จำนวน ๓ องค์ ตอกโค๊ดตัว “ท” เพื่อทดแทนก้นหุ้มทองคำที่ไม่ได้รับแจก ๑ ใน ๑๖ องค์(ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)






พระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทองคำ ๑ ใน ๑๖ องค์ผิวไฟยังเดิมๆ อยู่(ด้านหลัง)






พระกริ่งอุดผงพรายกุมารสร้าง ๑๐๖ องค์ตอกเลข ๑– ๑๐๑ พระองค์นี้ทำจากพระที่ชำรุดพี่สวยๆ งามก็มี ด้านหน้า, ด้านหลังและก้น อุดผงพราย แล้วลงรักปิดทอง
(ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)





๕. ส่วนพระกริ่งอุดผง พรายกุมาร ได้นำพระที่เหลือและ อยู่ในสภาพดี ซึ่งบางองค์ได้ตอก โค้ดตัวนะไว้บ้างแล้ว และที่ยัง ไม่ได้ตอกโค้ดตัวนะ ก็เอาโค้ดตัวอิ ซึ่งใช้ตอกพระและเหรียญชุด ๘ รอบ มาตอกไว้ประมาณ ๒๐ องค์ ที่ไม่ตอกโค้ดตัวนะ เพราะโค้ดนะ เริ่มสึกใกล้หมดสภาพดังจะสังเกตุ ได้จากเหรียญชุด ๘ รอบ หรือเหรียญหลวงพ่อสิม พุทธาจาโร ที่สร้างขึ้นแจกพร้อมหนังสือ “อภินิหารและพระเครื่อง” พระกริ่งอุดผงนั้น ครั้งแรก ตั้งใจจะเอาชันนะโรงใต้ดินของ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังฝั่งธนบุรี มาอุด แต่หลวงปู่ทิมท่านบอกว่า อย่าไปเอาของคนอื่นมาปนพระกริ่ง ของเราเลย ถ้าใครเอาไปใช้แล้ว เกิดเป็นอะไรขึ้น เขาจะได้โทษว่า ของเราไม่ดีแต่ผู้เดียว อย่าให้เขา ต้องมาเสียชื่อกับเราด้วย หลวงปู่ทิมนำพระกริ่ง ทั้งหมด และพระชัยวัฒน์อีก ๕ องค์ อุดผงด้วยมือของท่านเอง ทุกองค์ แล้วเอาลักดำทาและให้ ช่างทำศาลาช่วยปิดทองให้ทุกองค์ ท่านปลุกเสกอยู่ตลอด พรรษาปี ๒๕๑๘ แล้วยกออกมาให้ในวัน ออกพรรษาพอดี ผมนำมาตอกลำดับเลข ๑-๑๐๑ ที่บ้านผม และมีบางองค์ผู้ ตอกเลขหยิบเอาเลขอารบิค ชุดตอกเหรียญรุ่นแรกของหลวง ปู่แก้ว เกสาโร มาตอกลงไปด้วย หลายองค์ ส่วนพระชัยวัฒน์ ๕ องค์ ไม่ได้ตอกหมายเลขเพราะ ขนาดเล็ก ไม่มีที่ว่างจะตอกทั้ง ไม่ได้ตอกโค้ดใดๆ ไว้เลย พระ ชัยวัฒน์อุดผงทั้ง ๕ องค์นั้น ให้คุณวรเทพ อุดมรัตนะศิลป์ไว้ ๑ องค์ ให้คุณเพียรวิทย์ จารุสถิติไว้ ๑ องค์ ที่เหลืออีกองค์ อยู่ที่ผม ส่วนพระกริ่งอีก ๕ องค์ที่ไม่ได้ ตอกหมายเลข แต่ได้ตอกโค้ด ตัวนะที่สึกจนใช้ไม่ได้แล้ว ไว้ ๒ องค์ และตอกโค้ดตัวนะที่มีสภาพ ดีไว้ ๒ องค์ ให้คุณกุ้ย เตชะ- สมบูรณ์ผล ไป ๑ องค์ ให้คุณการุณ เทศประสิทธิ์ ไป ๑ องค์ เอาไปหุ้ม ก้นทองคำไว้ ๑ องค์ และ อีก ๑ องค์ แช่น้ำมนต์ไว้นานจนผงหลุด แล้วให้ใครไปก็จำไม่ได้เพราะนาน มากตั้ง ๓๔ ปี มาแล้ว

พระกริ่งชินบัญชรมีเดือยหรือพระกริ่งยอดธง องค์นี้ตอกนะในเม็ดงาไว้ ไม่ได้ตอกก็มี


พระกริ่งชินบัญชรกะไหล่หรือเปียกทองคำอย่างหนาจะเห็นทองร่อนตอกโค๊ดนะ ที่สึกแล้วไว้ใต้ฐานตอกเลขและโค๊ดไว้ด้วยหลายตัวเพื่อแยกจากชุดมาตรฐาน
๖. พระกริ่งชินบัญชรแปลกๆ นอกเหนือจากพระกริ่งชุดมาตราฐาน ๑ – ๕ แล้วยังมีพระกริ่งชินบัญชรแบบแปลกๆ ออกมาปรากฏให้เห็น เช่นพระกริ่งมีเดือยแบบพระยอดธง พระกริ่งก้นตัน พระกริ่งกะไหล่ทอง พระกริ่งหุ้มก้น ออกมาให้เห็นกันมากขึ้นและก็มีคนเช่าบูชาไปใช้แทนพระกริ่งชินบัญชรก็มี เพราะราคาย่อมเยาว์กว่า







พระกริ่งยอดธงหรือพระกริ่งมีเดือย เป็นแบบเดียวกันเมื่อเทออกมาและตัดออกจากช่อแล้วคนที่สนิทชิดเชื้อ มาขอเพื่อเอาไปทำน้ำมนต์ก็ให้ไปรวมถึงเพื่อนรวมงานที่มีปัจจัยน้อยก็แจกฟรีไปหลายองศ์ ภายหลังไปตัดเอาเดือยหรือก้านช่อออกก็กลายเป็นพระกริ่งก้นตันถ้าเอาพระกริ่งก้นตันไปเจาะรูที่ก้นแล้วอุดผงพรายผสมสีผึ้งเข้าไปก็กลายเป็นพระกริ่งอุดผง แต่ก็ยังคงไม่ชุดมาตราฐาน มีบางคนเอาไปจ้าง แป๊ะเล้ง แซ่ แต้ช่างทองหน้ากรมชลประทาน กะไหล่ทองแบบโบราณก็กลายเป็นพระกริ่งกะไหล่ทองไปก็มีจนเป็นที่สับสนกันว่าแท้หรือไม่ บรรดาพระกริ่งชินบัญชรพิเศษแปลกๆ เหล่านี้มีอยู่พอสมควรแต่ไม่มากนัก บางองค์ ต๊อกโค๊ดมาตรฐานนะในเม็ดงาไว้ก็มี เท่าที่ทบทวนและนึกได้ทั้งหมดคงมีไม่เกิน ๑๐๐ องค์ ก่อนหลวงปู่ทิม มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๘ พระกริ่งชินบัญชร เริ่มเป็นที่แสวงหาราคาขึ้นไปองค์ละประมาณ ๒,๐๐๐ บาทแล้ว เพื่อนๆ ที่ได้ไว้จึงขอให้ตอกโคต๊เพื่อยืนยันว่าเป็นพระกริ่งชินบัญชรแท้ๆ ก็มีหลายคนแต่ระยะนั้นโค๊ดตัวนะในเม็ดงาสึกจนใก้ลหมดสภาพแล้ว เพราะใช้ตอกโค๊ดหลายพิมพ์ด้วยกันจึงเอาโค๊ดตัวนะแอล ซึ่งเป็นโค๊ดตัวดังเดิมหรือตัวแรกจริงๆ ที่ทำไว้เพื่อจะใช้ตอกพระกริ่งชินบัญชร แต่ไม่ได้ใช้ตอกเพราะเมื่อตอกออกมาแล้วดูไม่สวย จึงไปให้ช่างยิ้ม ยอดเมืองแกะโค๊ดขึ้นมาใหม่เป็นตัวนะในเม็ดงาหรือรูปหยดน้ำมาตอกพระกริ่งชินบัญชรอันเป็นชุดมาตราฐานจนโค๊ดเม็ดงาสึก เพราะตอกพระไปหลายหมื่นองค์ แต่โค๊ดตัวนะแอลยังอยู่เพราะเกือบไม่ได้ใช้ตอกอะไรเลยจึงเอาโค๊ดนะแอลตอกไปแทน แต่ก็คงมีไม่ถึง ๓๐ องค์ บางองค์ที่เห็นอุดผงได้ขอเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองแดงที่เสียๆ ซึ่งคุณวิรัช ชำนาญณรงค์ กวาดเก็บมาจากโรงงานเอาไปหุ้มก้นพระกริ่งไว้ก็มีแต่ได้ตอกทั้งเลขทั้งโค๊ดไว้แต็มแผ่นเพื่อให้รู้ว่าเป็นของชำรุดที่ไม่ได้ใช้ เมื่อราคาพระกริ่งชินบัญชร แพงขึ้นทั้งหายากพระกริ่งชุดพิเศษนี้จึงออกมาให้เห็นกันมากขึ้นเพราะขายได้ราคาดีขึ้นแต่ก็มีไม่มากนัก พระกริ่งที่กะไหล่ทองต้องเป็นการกะไหล่หรือเปียกทองแบบโบราณซึ่งใช้ทองคำแท้มาเปียกจะต้องหนากว่าการชุบทองคำ พระกริ่งชินบัญชรชุดเปียกทองหรือกะไหล่ทองคงมีไม่เกิน ๒๐ องค์ ใช้แล้วขออะไรได้ผลทันตาเห็นขออะไรก็ได้ดังใจนึกไม่ทราบหลวงปู่ทิมท่านทำได้อย่างไร พระกริ่งชินบัญชรชุดพิเศษนี้แม้จะเป็นพระกริ่งเปล่าๆ ที่ไม่ได้ตอกโค๊ดทั้งเนื้อนวะธรรมดา หรือเปียกทองเห็นแล้วก็จะรู้ว่าเป็นของแท้หรือของปลอม เพราะพระกริ่งที่เททองด้วยมือแบบโบราณ แม้จะเทหัวปีเทท้ายปี ก็ยังดูออกว่าเป็นคนละรุ่นกัน แต่ต้องใช้ทักษะด้วยนะครับ






พระกริ่งชินบัญชรเปียกหรือกะไหล่ทองทำไว้ใช้เองตอกตัวนะแอลไว้เพื่อยื่นยันว่าเป็นของแท้แน่นอน ก้นอุดผงพรายกุมารเข้มข้นแล้วปิดทอง (ด้านหลัง) (ใต้ฐาน)






เศียรพระกริ่งชินบัญชรที่ลั่นออกมาคงเพราะเนื้อโลหะไม่เข้ากัน




โค๊ดตราศาลาที่ตอกใต้แผ่นเงิน แผ่นทองคำ ได้ทำลายให้หมดสภาพพร้อมโค๊ดนะในเม็ดงา ต่อหน้าคุณสมชาย จันทรวังโส ก่อนทำบุญ ๑๐๐ วันเมื่อ ๒๓ มกราคม ๒๕๑๙




พระกริ่งชินบัญชรรุ่นมหาปราบหล่อแบบสมัยใหม่(ฉีด) ใต้ฐานยันต์มหาจินดามณียันต์ที่หลวงปู่ทิมใช้ประจำ (ใต้ฐาน)






พระชัยวัฒน์

พระกริ่งชินบัญชรกะไหล่ทองฝีมือแป๊ะเล้ง มีปรากฏออกให้บูชากันไปแล้ว ๖ – ๗ องค์ ซึ่งผมติดตามดูอยู่ ทุกคนที่บูชาไปแล้วมักมีโชคมีลาภ เช่นท่านผู้พิพากษา ศิริชัย จามรมาณ ได้หนี้เก้าคืนถึง ๓๐ ล้านบาท ท่านเอามามอบให้ผม ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างพระพุทธรูปบูชาถวายหลวงปู่ทิม, คุณจินดา บุญเรือง บูชาพระกริ่งชินบัญชรก้นหุ้มทองอธิษฐานว่าถ้าพระกริ่งองค์นี้คอยเจ้าของจริงอย่างดังข้อเขียนของคุณชินพร สุขสถิตย์ ขอให้มีโชคได้เงินคืนปรากฎว่าถูกรางวัลที่๑รับเงินรางวัลหกล้านบาท, คุณอ๊อด ร้านแก๊สประตูน้ำบูชาพระกริ่งกะไหล่ทองนะแอลไป ๓.๕ หมื่น เอาเลขในแผ่นใต้ฐานไปแทงหวยได้เงินมา ๘ หมื่น, สวป.ทุ่งมหาเมฆ พ.ต.ท.จิรภัทร มุ่งดี บูชาพระกริ่งกะไหล่ทองนะแอล มีโชคมาตลอดตั้งแต่ใช้ได้ ๒ ขั้นไม่มีลูกมาหลายปีก็ขอลูกได้ทั้งได้รางวัลเป็น สวป.ดีเด่น,และ คุณมดแดง เทพบุตร อยู่แบงค์อินโดสุเอช เก็บพระกริ่งไว้มากคนหนึ่งขาดเพียงพระกริ่งทองคำแต่ใช้พระกริ่งกะไหล่ทองนะแอลบอกแรงมากติดต่อหาเงินเข้าแบงค์ได้เป็นร้อยเป็นพันล้าน ใช้ติดตัวเป็นประจำขออะไรเป็นได้ทุกครั้ง พระกริ่งพิเศษแปลกๆ เหล่านี้คือพระกริ่งชินบัญชรแท้ๆ ที่แจกไป เพื่อเอาไปแช่น้ำทำน้ำมนต์บ้างขอไปไว้ใช้เองบ้างเพื่อแทนชุดมาตราฐานองค์ ๓๐๐ บาท แต่มาบัดนี้มีราคาขึ้น เพราะชุดมาตราฐานนั้นสนนราคาสูงขึ้นทุกที












































































































































































ข้อมูลจากมูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่