ประวัติ หลวงพ่อรัตน์ อตฺตสาโร วัดป่าหวาย ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย
จ.ระยอง
สืบทอดพุทธาคมสายหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ โดยได้ศึกษาร่ำเรียนจาก หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม หลวงพ่อรัตน์เป็นศิษย์ใกล้ชิด หลวงปู่ทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้งรูปสุดท้าย ได้รับมรดกจากหลวงปู่ทาบ ทั้งวิชาอาคม, สีผึ้งเขียว และกระดานชนวนอายุนับร้อยปี อีกทั้งยังเคยติดตามหลวงปู่ทาบ ไปวัดหนองกระบอก เพื่อแลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อลัด จึงได้เคล็ดวิชาการสร้างเสกแพะ ตำราหลวงปู่อ่ำ จากหลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอกมาอีกด้วย หลวงพ่อรัตน์ จึงนับได้ว่า เป็นผู้รอบรู้ศาสตร์วิชา สายระยองอย่างครบถ้วน
หลวงพ่อรัตน์ อตฺตสาโร
มีนามเดิมว่า รัตน์ นามสกุล บุญสม เกิดที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 บิดาชื่อ สด มารดาชื่อ แช่ม มีพี่น้อง 8 คน หลวงพ่อรัตน์ เป็นคนที่ 2 ครอบครัวมีอาชีพ ทำนา,ทำไร่ เป็นเกษตรกร เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าศึกษาที่วัดใหม่กระบกขึ้นผึ้ง ซึ่งหลวงพ่อรัตน์ สนใจเรียนด้านคงกระพัน และ หนังเหนียว มากกว่าวิชาเรียนปกติ อีกทั้งยังชอบทดลองวิชาที่เรียนมา ว่าได้ผลจริงไหม
มีนามเดิมว่า รัตน์ นามสกุล บุญสม เกิดที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 บิดาชื่อ สด มารดาชื่อ แช่ม มีพี่น้อง 8 คน หลวงพ่อรัตน์ เป็นคนที่ 2 ครอบครัวมีอาชีพ ทำนา,ทำไร่ เป็นเกษตรกร เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าศึกษาที่วัดใหม่กระบกขึ้นผึ้ง ซึ่งหลวงพ่อรัตน์ สนใจเรียนด้านคงกระพัน และ หนังเหนียว มากกว่าวิชาเรียนปกติ อีกทั้งยังชอบทดลองวิชาที่เรียนมา ว่าได้ผลจริงไหม
เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องออกมาช่วยครอบครัวทำงาน พอโตมา ก็ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารแต่ไม่ถูกทหาร
เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดใหม่กระบกขึ้นผึ้ง โดยมีหลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น
เนื่องจากเป็นวัดใกล้บ้านของท่าน ได้ศึกษาวิชาจากหลวงปู่ทาบ
ซึ่งท่านก็ เมตาสอนให้ แบบเต็มที่
ทั้งวิชา ทำน้ำมนต์,การหุงสีผึ้งเขียว วิชาของหลวงปู่ทาบ นั้นจะหนักไปทางด้านเมตตา
จากนั้นหลวงพ่อรัตน์ ก็ได้สึกออกมามีครอบครัว มีบุตร 3 คน แล้วจึงย้ายครอบครัวมาประกอบอาชีพ ทำนา,ทำไร่อยู่แถวบ้านป่าหวาย
สมัยก่อนแถบนี้ไม่มีวัด ไม่มีโรงเรียน พอจะทำบุญก็ต้องออกไปทำที่วัดหนองกรับ จนชาวบ้านร่วมใจกันสร้างโรงเรียน ในบ้านป่าหวาย และสร้างวัดขึ้นด้วย แต่ก็ติดขัด
ไม่มีพระอยู่ประจำ ทุกๆปี ต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาจำพรรษาที่นี่
ต่อมา ปี พ.ศ. 2530 หลวงพ่อรัตน์ก็ช่วย
หาพระมาอยู่ประจำที่วัดป่าหวายนี้ ไปๆมาๆ เลยได้มาบวชเอง และได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหวายนี้ และได้รับการแต่งตั้ง
จากเจ้าคณะอำเภอ ให้เป็นผู้ดูแลวัดป่าหวาย
ในช่วงปี 2530-2533 หลวงพ่อรัตน์ได้เริ่มเรียนวิชา คาถาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อสาคร อย่างจริงจัง และเทียวมา ต่อวิชาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เนื่องจากวัดป่าหวาย และวัดหนองกรับนั้น
ห่างกันไม่กี่กิโลเมตร
สมัยที่อยู่วัดหนองกรับ ยังได้มีโอกาสศึกษาวิชากับหลวงพ่อทอง ศิษย์หลวงพ่อวงษ์วัดบ้านค่าย ผู้เป็นศิษย์เอก ของหลวงปู่สังข์เฒ่า วัดเก๋งจีนอีกด้วย
หลวงพ่อสาคร ท่านเมตตาสอนวิชาให้หลวงพ่อรัตน์อย่างไม่ปิดบัง วิชาสร้างพระเครื่อง, เคล็ดวิชาบวงสรวงเสกแพะ วิชาทำน้ำมนต์ เจิมบ้าน,เจิมรถ และยังได้รับมอบ ผงพรายกุมาร
ไว้เพื่อสร้างพระอีกด้วย หลวงพ่อรัตน์ท่าน
เริ่มสร้างวัดป่าหวาย อย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2534
โดยได้รับความช่วยเหลือจากหลวงพ่อสาคร
วัดหนองกรับ
โดยได้สร้างเมรุเผาศพก่อน เพราะสมัยนั้น เวลามีคนตาย
ก็ต้องนำไปเผาที่วัดหนองกรับ และมาเริ่มสร้างอุโบสถ
เมื่อปี พ.ศ. 2537 ได้ยกช่อฟ้าในปี พ.ศ. 2542 ต่อด้วยการสร้างศาลา และกุฏิสงฆ์ตามลำดับ
หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย นับว่าเป็นพระนักพัฒนา อีกทั้งยังรอบรู้เวทย์วิทยาคม
ของครูบาอาจารย์สายระยอง อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบโดยแท้
จึงไม่แปลกที่วัตถุมงคล ที่ท่านสร้าง และเสกไว้นั้นทั้ง พระขุนแผนรุ่นแรก, สมเด็จนักเลงโต แพะเขาควายฟ้าผ่า, ตะกรุดโทน, หนุมาน, เหรียญที่ระลึกรุ่นต่างๆ ล้วนได้รับความนิยม และเกิดประสบการณ์มากมาย กับผู้ที่นำไปใช้ จนใครที่มีไว้ใช้ ก็ต่างหวงแหน
ประกอบกับจำนวนการสร้างที่น้อย ทำให้
เวลามีการเช่าบูชาเปลี่ยนมือแต่ละครั้ง จึงมีสนนราคาในการ เช่าหาที่ค่อนข้างสูง
เพราะประสบการณ์ และความหายากนั่นเอง