ประวัติ หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม วัดเทพสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี


เจ้าอาวาสวัดเทพสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี


วัดสิงสิงหาญเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บ้านสะพือ หมู่ 4 ต.สะพือ อำเภอตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๕ มีพื้นที่ ๖ ไร่ ๒งาน ๙๑ ตารางวา จดที่นาทั้ง 4 ทิศ
มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ คือ
   1  ญาท่านอุต (อุตตะมะ) พ.ศ. ๒๓๔๕-๒๓๙๕
   2  ญาท่านสีดา พ.ศ.๒๓๙๕-๒๔๕๐
   3  ญาท่านพู พ.ศ.๒๔๕๐ -๒๔๖๐
   4  ญาท่านบัณฑิต พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๘
   5  ญาท่านโทน ๒๔๗๘-๒๔๙๒
   6  สมเด็จตัน พ.ศ.๒๔๙๒-๒๔๙๓
   7  ญาท่านกัมฐานแพง ๒๔๙๔-๒๕๐๙
   8  หลวงปู่บัวศรี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๓๖
   9  พระครูสถิตธรรมมงคล (หลวงปู่อ่อง ฐิตธรรมโม ) พ.ศ. ๒๕๓๖จนถึงปัจจุบัน
            ผู้เขียนได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ หลายท่านได้ทราบพอสังเขป ว่าวัดสิงหาญ นี้ตั้งราวพ.ศ. ๒๓๔๕ โดยญาท่านอุตตะมะ(อุต) เป็นผู้ก่อตั้งมีความเป็นมา คือญาท่านอุต ได้ย้ายมาจากฝั่งขวาแม่น้ำมูลไม่ทราบว่าบ้านไหน ได้บวชเป็นพระมาบ้านสะพือ ญาท่านอุต บอกว่าถ้าจะให้จำพรรษาอยู่ที่นี่ก็จะเอาพ่อแม่มาด้วย ชาวบ้านตกลงจึงได้อบพยบครอบครัวมาตั่งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือชาวบ้านจัดสรรที่ทำมาหากินให้มีไร่นาสวนพออยู่พอกิน ส่วน ญาท่านอุตนั้น
        ได้มาตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่ป่าทางทิศใต้ บ้านห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ ๑ กิโลเมตร วัดศรีสุมัง (โนนวัดทุกวันนี้ปัจจุบันกลายเป็น สระน้ำสาธารณะ) ชาวบ้านเห็นว่าการนำภัตตาหารเช้าเพลลำบาก เพราะไกลหมู่บ้านจึงได้ย้ายวัดใหม่มาตั้งที่ริมหมู่บ้านทางทิศใต้ ป่าตรงนี้เรียกว่า ป่าหนองแก่นช้างชาวบ้านได้ช่วยกันถากถาง สร้างกุฏิขึ้นให้พระอาศัย ญาท่านอุต จึงมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ราว พ.ศ. ๒๓๔๕ เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดสิงหาญ ตราบเท่าทุกวันนี้
       ท้าวลุน เจ้าปู่สมเร็จลุนบิดาชื่อ พ่อเซียงหล้า มารดาชื่อ แม่คำบู่ เจ้าปู่สำเร็จลุนเกิดปีฉลู พ.ศ. 2370
        ณ บ้านหนองคำไฮ ต.เวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ขณะนั้นแขวงจำปาสัก อยู่ในการปกครองของประเทศไทย
        เจ้าปู่สำเร็จลุน และญาท่านสีดา เป็นพระภิกษุรุ่นเดียวกันได้มาบวชอยู่ที่วัดเทพสิงหาญ โดยการนำพาของญาท่านอุตตะมะ ซึ่งมีศักดิ์เป็น อา” (ลูกของพี่ชาย)  ท่านเป็นปรมจารย์ใหญ่ รุ่นแรก เป็นผู้มีฤทธิ์เดช วิชา มีตำราต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรลุนและอุปสมบทเป็นพระ แต่ หลวงปู่ลุน นั้นไม่สนใจทางวัดฉันข้าวเสร็จไม่ทำอะไร เอาแต่อ่านตำรา นั่งภาวนาอย่างเดียว ญาท่านอุตตะมะ เมื่อเห็น อย่างนี้แล้ว ท่านจึงบอก หลวงปู่ลุนว่าถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสียหลวงปู่ลุน ก็เลยออกไปอยู่ป่า ออกไปอยู่ในป่านานประมาณ 20-30 ปีจึงกลับมาวัดครั้งหนึ่ง 
         การปฎิบัติธรรมก็ดีขึ้นเรื่อยๆเป็นพระอาจารย์ ที่มีคนบูชานับถือมากขึ้น ไปกราบไหว้ นมัสการขอให้ท่านพิจารณา จนชาวบ้านเรียกขานกันมาว่า สำเร็จลุน ต่อมาจากนั้นเจ้าปู่ สำเร็จลุน มาเป็นที่เลื่องลือว่าท่านเรืองฤทธิ์นั้นเพราะมี ฝรั่งได้มาทดสอบท่านโดยทำบุญแล้วเอาสุราใส่ กาน้ำมาถวายให้ พระเณรฉัน ฉันกันหมดแล้ว ฝรั่งเห็นก็ว่า พระทำไมดื่มสุรา ศาสนาพุทธพระทำไมดื่มสุรา ฝรั่งหาเรื่องว่าสำเร็จลุน ท่านจึงกล่าว” “นี่แหละ....ความยากของคน เขาเอามาให้กินก็กิน ให้กินอะไรก็กิน ให้ฉันอะไรก็ฉัน อย่าให้เขามาดูถูกได้แล้วท่านก็หันไปพูดกับฝรั่งว่า อ้า...เจ้าดูถูกศาสนาพุทธ เจ้าเป็นคนไม่ดี” ว่าเพียงนั้น ฝรั่งก็เลยหนีลงเรือกำปั่นเปิดเครื่องยนต์ เครื่องติด ปุด..ปุด..ปุด แต่เรือไปไหนไม่ได้อยู่กับที่ อยู่กับที่ วัน เรือไม่เดินไปไหน ทั้งๆที่เครื่องยนต์ติดเดินเครื่องไม่ได้ ฝรั่งเลยกลับมาหา สำเร็จลุนเอาน้ำมันก๊าดมาให้ 20 ปี๊บ และเอาเทียนไขใส่ปี๊บมาให้อีก 20 ปี๊บ มาขอ ขมาลาโทษท่าน ท่านพูดว่า มึงไม่รู้จักกูเท่านั้นท่านก็เอาเท้าแตะน้ำ 2 ครั้ง เรือกำปั่นก็ออกเดินได้ เจ้าปู่สมเด็จลุนมีอิทธิปาฏิหาริย์มากเหนือกว่าพระสงฆ์ใด ๆ ในยุคนั้น เช่น ล่องหนหายตัวได้ เดินข้ามแม่น้ำโขง ย่นระยะทางได้ แบ่งกายได้ เก็บหนังสือเข้าผูกโดยไม่ต้องดู เสกตัวเองเป็นนกเสกคนอื่นเป็นกุ้ง ฝ่าดงทากนับล้านตัวโดยไม่มีอันตราย แหวกลมแหวกฝนไม่เปียก สมเด็จลุนบิณฑบาตต่างประเทศและทั่วทุกแขวง ของประเทศลาวเสมอ ๆ
เจ้าปู่ สำเร็จลุน มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน สิริอายุ 84 ปี 64 พรรษา แห่ศพเจ้าปู่สมเด็จลุนจากวัดเวินไซไปยังที่ฌาปนกิจศพประมาณ 100 เมตร เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน สถานที่ฌาปนกิจปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่ 5 ต้น ซึ่งเกิดขึ้นมาหลังฌาปนกิจได้ 7 วันซึ่งเกิดขึ้น อย่างน่าอัศจรรย์ ชาวบ้านเวินไซ จึงตั้งชื่อวัดอีกวัดหนึ่งว่า วัดโพธิ์เวินไซ

         พระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์เอกเจ้าปู่สมเด็จลุน เกิดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2427 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน11 ปีวอก เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด บิดา ชื่อซาพิจิต (มา) พรหมสีใหม่ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอุปฮาด (อุปราช) เมืองตระการพืชผล มารดาชื่อ ผิวพรหมสีใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน ศรัทธาในศีลาจาวัตร เจ้าปู่สมเด็จลุน จึงได้ขออุปสมบทและศึกษาเวทย์วิทยาคมจากเจ้าปู่สมเด็จลุนจนแตกฉาน เห็นเหตุการณ์ที่เจ้าปู่แสดงธรรมตลอดระยะเวลาจนกระทั่ง เจ้าปู่สมเด็จลุนมรณ ภาพ เมื่อชราลงพระกรรมฐานแพง จึงได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสิงหาญ และมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2509 สิริอายุ 82 ปี

 พระครูสถิตธรรมมงคล

       หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม ปรมจารย์ สายสมเด็จลุน ศิษผู้น้อง ญาท่านสวน วัดนาอุดม หรือนามเดิม อ่อง อัจฉฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2471 ตรงกับ วันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง เกิดในสกุลอัจฉฤกษ์ โยมพ่อชื่อ พ่อคุณ โยมแม่ชื่อ แม่กอง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 9 คน
ชื่อ นายทอง อัจฉฤกษ์ บุตรคนที่ 2 ชื่อ นางทอง บุตรคนที่ 3 ชื่อหลวงปู่ อ่อง ฐิตธัมโม บุตรคนที่ 4 ชื่อ นางสีดา บุตรคนที่ 5 ชื่อ นายจันทา บุตรคนที่ 6 ชื่อ นางทุมมา บุตรคนที่ 7 ชื่อ นางคำหล้า
บุตรคนที่ 8 ชื่อ นางวันนา บุตรคนที่ 9 ชื่อ นางนาไฮ้

         เด็กชายอ่อง อัจฉฤกษ์ เป็นเด็ก จิตใจโอบอ้อมอารี ชอบใฝ่เรียน ใฝ่รู้ อายุได้ 6 ขวบ มุ่งใฝ่หาธรรมะ ไม่สนใจทางโลก ชอบเข้าวัด ปฏิบัติธรรม พออายุได้ 9 ขวบ ได้ขอโยมพ่อโยมแม่ ไปเป็นเด็กวัด ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ กัมมัฏฐาน แพง จันทสาโร พออายุได้ 14 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่ ญาท่าน โทน กันตสีโล) เป็นผู้บรรพชาให้ จากนั้น ได้คอยอุปฐากเฝ้ารับใช้ หลวงปู่ กัมมัฏฐาน แพง จันทสาโร หลวงปู่จึงเกิดความเมตตาเอ็นดูสอน ภาษาบาลี อักษรขอมธรรม ลาวโบราณ ศึกษาวิชากรรมฐานเพื่อฝึกจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว หวังหาทางหลุดพ้น ได้พอสมควรจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ พ.ศ. 2491  เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในบวรพระพุทธศาสนา โดยมีพระครู โสภิตพิริยคุณ ญาท่านฤทธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรวิริยกิจ ญาท่าน ชู เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสิริปุญญรักษ์ ญาท่านสวน เป็นพระอนุสาวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐิตธัมโม" แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นในธรรม

          พระภิกษุอ่อง ฐิตธัมโม เร่งฝึกจิต อบรมตนด้วยการฝึกนั่งสมาธิ บำเพ็ญจิตตภาวนา ในวิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ มิได้ขาดจากความเพียร มากน้อยบ้างตามจริตนิสัยและโอกาสอำนวยฝึกฝนอบรมจิต จนรวมเอกัคตารมณ์ จิตสงบรวม สู่ฐานสมาธิ หลีกหนีจากวัฏสงสารตามแนวทาง ผู้เป็นอาจารย์ จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ ค้นหาครูบาอาจารย์ ร่ำเรียนวิชา ศึกษาด้านพุทธาคม ได้ไปกราบสำเร็จตัน ญาท่านตู๋ 

          จากนั้นได้เดินธุดงค์ในแทบแม่น้ำโขงตามภูเขาน้อยใหญ่ต่างๆที่ใน ประเทศลาวและประเทศไทย ทั้งภาคเหนือภาคใต้ ผ่านภูเขาควาย เข้าภูมะโรง เพื่อฝึกฝนจิตใจ สมาธิ ให้แข็งแกรง ผ่านเข้าพรรษาที่ 10 อายุครบ 30 ปี ได้กลับไปเรียนวิชา จากกัมมัฏฐานแพง การเรียนสรรพวิชา เวทย์มนต์คาถาอาคมต่างๆ ในสายสำเร็จจลุน ญาท่าน กัมมัฏฐานแพง ท่านได้กล่าวว่า ผู้ที่จะเรียนวิชาในสายนี้ จะต้องถือสัจจะ คือเมื่อเรียนสำเร็จ จะต้องบวชไม่สึกจนกว่าชีวิตจะหาไม่ 
         วิชาที่ท่านได้ร่ำเรียน ได้แก่ มูลสังกจายน์ วิชา ธาตุ 4 นะมะพะทะ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะโมพุทธายะ นะปัตตลอด หนุนธาตุ กลับธาตุ วิชาหุงนวด หุงปรอด และสุดยอดวิชา คือวิชาหุงหิน วิชาโบราณ ที่น้อยคนจะมีวาสนาร่ำเรียนวิชานี้สำเร็จได้ โดยการณ์ใช้ไฟ บริกรรมคาถาขับธาตุ ให้เกิดเป็นแร่กายสิทธิ์ มีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ครอบคุ้มเข้มขลังในตัว ตลอดจนหมดสิ้นวิชาที่เรียนได้รับตำรายันต์ ทำผง ตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงปถมัง ผงอธิเจ เขียนเองลบเอง ปลุกเสก 
        ภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2509 หลวงปู่ญาท่านกัมมัฏฐานแพง ได้มรณภาพลง วันที่ 26 กันยายน 2509 สิริอายุ 82 ปี จากนั้น หลวงปู่ อ่องได้ออกเดินธุดงค์ไป จนถึงปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่ท่านได้กลับมาที่ วัดสิงหาญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ด้วยศีลจริยธรรม อันงดงาม พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูสถิตธรรมมงคล
          พระครูสถิตธรรมมงคล (หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม) ไม่ได้แสดงปาฏิหาริย์ ใดๆให้ญาติโยมเห็นเลย แต่ในเมื่อ สองสามปี มีคำกล่าวเล่า จากชาวบ้าน ที่ผ่านมาในขณะหลวงปู่นั่งรับแขกญาติโยมอยู่ที่ วัดสิงหาญ แต่ร่างหนึ่งสวดพระอภิธรรมอยู่ที่วัดทุ่งศรี เป็นหนึ่งใน 4 วัดของบ้านสะพือ อีกเรื่องคือใช้ วิชาย่นระยะทาง ปลุกเสก หุงหินในถ้ำภูมะโรง ประเทศลาว เป็นแร่เหล็กไหลกายสิทธิ์ แม้แต่หลวงปู่จอม นาคเสโน ยังกล่าวไว้ว่า มีเหลือเพียงผู้เดียว ที่เสกหินให้เป็นเป็นแร่กายสิทธิ์ ในปรมจารย์สายสมเด็จลุน 
          และในขณะนั่งประกอบพิธีในวัดแห่งหนึ่งในอำเภอพิบูลมังสาหาร ทั่วร่างกายแป็นประกายหลากสีเปล่งปลั่งอย่างน่าอัศจรรย์ แม้จะเป็นหนึ่งเดียวในสายพระอาจารย์ ใหญ่เจ้าปู่สำเร็จลุน ผู้มากด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ แต่ไม่เคยแสดงฤทธิ์เดชให้ใครเห็น ยกเว้นสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเองในคราวจำเป็น หรือมีใครทดลอง เพราะได้รับคำแนะนำจากพระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเจ้าปู่สมเด็จลุนที่จำได้ทุกตัวอักษร ว่า หากไม่มีเหตุจำเป็น อย่าแสดงแผงฤทธิ์เดชใดๆ (เสือซ่อนเล็บ)

         ปัจจุบัน หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม มีอายุได้ 83 ปี 63 พรรษา ท่านได้เมตตา ลูกศิษย์ ลูกหา ศาธุชนโปรดญาติโยม ไม่เลือกชั้นวรรณะ อยากดี มีจน สะเดาะเคาะต่อดวงชะตา (กลับดวง) เปลี่ยนยาจก เป็นเศรษฐี จารแผ่นยันต์ ตระกรุต เครื่องของขลัง ลงนะ หน้าทอง ลงน้ำเสือ น้ำมันช้าง ว่าน 108 จารกระหม่อน ซึ่งล้วนแล้วมีประสบการณ์ เมตตา โชคลาภ ร่ำรวย แคล้วคลาด ปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน มาแล้วทั้งสิ้น นิตยสาร พระเครื่องหลายฉบับได้ตี พิมท์ ออกวิทยุโทรทัศมาแล้ว ทั้งสิ้น จนชาวอุบลขนานนามท่าน ว่า เทพเจ้าแห่งความเมตตา

            ซึ่งในขนาดนี้ ทางวัดพระอุโบสถย์มีการทรุดโทรม ลงมากทาง และยังขาดการพัฒนาอีกหลายด้าน อาทิเช่นซุ้มประตูโขลง ศาลา แต่ทางวัดยังขาดปัจจัยจำนวนมาก หลวงปู่ พระเดช พระคุณ ท่านพระครูสถิตธรรมมงคล (หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม)จึงเมตตา ให้มีการอนุญาตให้จัดสร้าง วัตถุมงคล รุ่นแรก (สร้างบารมี) อย่างเป็นทางการ เพื่อสมถบทุน บูรณะ พระอุโบสถย์ วัดสิงหาญ




ขอขอบคุณมูลจาก www.web-pra.com