ประวัติ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม



หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต
วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม

       หลวงพ่อคง ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๐๘ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ณ บ้านสำโรง ปัจจุบันคือ ต.โรงหีบ อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เป็นบุตรรักของ นายเกตุ กับ นางทองอยู่ ต่อมานามสกุลที่ท่านใช้คือ นามสกุล "จันทร์ประเสริฐ" ซึ่งเป็นต้นสกุลของหลวงพ่อคง
เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาและโยมมารดาให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้งละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า เย็นวันนั้น หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่านถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจงกันเป็นการใหญ่ จนมีอายุ ๑๙ ปี ก็ได้ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยการงานของพ่อและแม่
พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อปี ๒๔๒๗ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า "ธมมฺโชโต" อันแปลว่า เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม
หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ จนกระทั่งพรรษาที่ ๒๑ ในปี ๒๔๔๘ ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม ได้อาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง
หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม หลวงพ่อได้ทำการฟื้นฟู บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ใน พ.ศ.๒๔๖๔ และท่านได้สร้างวัตถุมงคลหลายชนิดด้วยกัน เช่น
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกสร้างในปี ๒๔๘๔ และเหรียญรุ่น ๒ สร้างในปี ๒๔๘๖ และเหรียญหล่อ อรุณเทพบุตร และเหรียญหล่อ หนุมานแบกพระสาวก เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ
เท่าที่พบเจอมี เนื้อทองแดงผสมทองเหลือง ถ้าในบางเหรียญที่ผ่านการใช้จะมีลักษณะเหมือนเหรียญฝาบาตร เหรียญสวยๆ เหรียญหนึ่งสนนราคา ๔-๖ แสนบาทแล้ว แพงน่าดู
ส่วนเหรียญที่ออกปี ๒๔๘๖ เรียกว่า "เหรียญปาดตาล" มีทั้งเนื้อเงิน ฉลุลงยา และเนื้อทองแดง เหรียญเงินสนนราคาสภาพสวยๆ ๘-๙ หมื่นบาท ส่วนเนื้อทองแดง ๒-๓ หมื่นบาท
เหรียญอรุณเทพบุตร เป็นเนื้อโลหะผสมหล่อด้านหลังเรียบ สวยๆ สนนราคา ๖-๘ หมื่นบาท และหนุมานแบกพระสาวก เป็นเหรียญหล่อที่สนนราคาประมาณ ๕-๖ หมื่นบาท
ส่วนเรื่องของปลอม ระบาดหนักมากสำหรับทุกรุ่นของหลวงพ่อคง ของเก๊หรือทำเลียนแบบทำได้ใกล้เคียงมาก ไม่ว่าจะเป็นเหรียญปั๊มหรือเหรียญหล่อ หากต้องการบูชาควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ให้เขารับประกันให้ดีกว่าไม่ต้องเสี่ยง แหมเกือบลืมบอกไป รุ่นแรกเหรียญ ๒๔๘๔ ด้านข้างเหรียญมี ๒ พิมพ์ คือ
๑.บล็อก ข้างกระบอก ด้านข้างของเหรียญมีลักษณะเรียบเนียนไม่มีริ้วรอย
๒.บล็อก ขอบสตางค์ ด้านข้างของเหรียญมีลักษณะเป็นรอยเลื่อยถี่ๆ มีลักษณะขอบเหมือนเหรียญบาทที่เราใช้อยู่ จึงเรียกว่า ขอบสตางค์ ทั้งนี้ ขอบสตางค์จะมีราคาแพงกว่าข้างกระบอกเล็กน้อย เนื่องจากหายากกว่า
ในส่วนของพุทธคุณของเหรียญหลวงพ่อคงนั้น มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า มีพุทธคุณด้านคงกระพัน โดยเฉพาะเหรียญรุ่นปาดตาล แม้ว่าจะสร้างหลังจากมรณภาพแล้วก็ยังมีความคงกระพันอยู่ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า มีคนถูกแทงด้วยมีดปาดตาล ซึ่งถือว่าเป็นมีดที่คมมากแต่ไม่เข้า จากนั้นก็ร่ำลือกันต่อๆ มา ในที่สุดก็เรียกเหรียญรุ่นดังกล่าวว่า เหรียญรุ่นปาดตาล
อย่างไรก็ตาม การเรียกชื่อพระเครื่องและเหรียญตามประสบการณ์ใช้นั้น ยังปรากฏในเหรียญรุ่นอื่นๆ อีก เช่น พระหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ได้สร้างพระขึ้นรุ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นพระผงรูปเหมือนของท่านทรงสี่เหลี่ยมนั่งอยู่บนโต๊ะ จากนั้นมีผู้นำไปใช้แล้วถูกฟ้าผ่าไม่เป็นไร จึงเรียกพระรุ่นดังกล่าวว่า พระสมเด็จฟ้าผ่า พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ รุ่นปลดหนี้ เนื่องจากผู้นำไปใช้แล้วมีประสบการณ์จากผู้ที่เป็นหนี้ก็หมดหนี้ จึงเรียกว่า พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ รุ่นปลดหนี้
หลวงพ่อคง มรณภาพวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘
เมื่อครั้งอาจารย์เภา ศกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ยังมีชีวิตอยู่ มีผู้เรียนถามท่านว่า
"...หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ อาจารย์เภาจะเลือกพระเถระองค์ใดว่าท่านเด่นดังมากที่สุด..."
อาจารย์เภาตอบว่า "...ฉันขอเลือกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เพราะว่าท่านเป็นหลวงพ่อของฉัน ถึงจะยิงกันฉันก็ไม่กลัว..."
จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เภา ศกุนตะสุต ท่านมีความเชื่อมั่น และเคารพหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม อยู่เหนือพระเถระองค์อื่นๆ ทั้งหมด นี้เป็นประสบการณ์จากการสนทนากับปรมาจารย์เหรียญ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าทรงคุณวุฒิทางด้านนี้อย่างแท้จริง

นะโม 3จบ

พุทธัง เพชร คงฆัง ธัมมัง เพชรคงฆัง สังฆัง เพชรคงฆัง
พุทธัง มาเรโส ธัมมัง มาเรโส สังฆังมาเรโส

ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดบางกะพ้อมเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2312 สมัยกรุงศีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง มีตำนานเล่าขานกันมาว่า มีตระกุลคหบดีมีฐานะดีตระกูลหนึ่ง ได้ลงเรือพาครอบครัวพร้อมทั้งทรัพย์สินหนีข้าศึก เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา รอมแรมถึงแหลมบางกะพ้อมแห่งนี้ เห็นเป็นที่เหมาะสมร่มรื่น จึงได้พักแรม สร้างที่อยู่อาศัยอยู่ โดยอาศัยการสานกระบุง ตระกร้า เสื่อลำแพน และกะพ้อมใส่ข้าว เป็นสินค้านำไปขายเพื่อเป็นค่ายังชีพ ต่อมามีคนมาบอกว่ากองทัพข้าศึกยกมา กำลังทำการสู้รบกันอยู่ที่ค่ายบางกุ้งให้รีบหนี แต่คหบดีผู้นั้นเห็นว่าคงหลบหนีไม่ทัน จึงได้เข้าไปแอบอยู่ในกะพ้อมที่สานเอาไว้เพื่อจะขาย พร้อมกันนั้นได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อ พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า "ขออย่าให้ทหารข้าศึกพบเลย หากรอดพ้นไปได้จะจัดการสร้างวัดและวิหารขึ้นตรงนี้" ซึ่งทหารข้าศึกก็ผ่านไปโดยมิได้พบเห็น ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารวัดบางกะพ้อมขึ้น ตามที่ตั้งสัตยธิษฐานไว้ โดยตั้งชื่อวัดว่า "วัดบังกับพ้อม" ต่อมาคงเพี้ยนไปบ้าง หรือเพื่อความเหมาะสมจึงชื่อ "วัดบางกะพ้อม" มาจนถึงปัจจุบันี้ ครอบครับของผู้สร้างวัดนี้ ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นได้สร้างอุโบสถเรือนไม้ มีพระพุทธรูปศิลาแลง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพระประธาน และได้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาท 4 รอย เดิมสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเชื่อพระวงศ์ในพระราชจักรีทรงผนวช และจำพรรษา ณ วัดนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเถระผู้ใหญ่และเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังนูน อันเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม
สิ่งที่น่าสนใจ
วิหารวัดบางกะพ้อมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีอิทธิพลของสถาปัตยของสถาปัตยกรรมจีน ตามแบบศิลปะพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าปั้นเป็นลายปูนปั้นแบบจีน ประตูทางเข้าเป็นทรงกลม มีปูนปั้นเป็นรูปทหารฝรั่งยืนเฝ้า 2 ข้างประตู ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังนูน ที่สวยงามแปลกตา เป็นอย่างยิ่ง โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง ที่ประดิษฐาน ณ สุวัณเณมาลิก, ภูเขาสุวรรณบรรพต, ภูเขาสุมนกูฏ, เมื่องโยนกและรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน ณ แม่น้ำนัมมทานที ด้านที่ 2 เป็นภาพพระพุทธประวัติ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพาน ด้านที่ 3 เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ได้นำพระศพของพระพุทธเจ้า ขึ้นตั้งบำเพ็ญกุศล ด้านที่ 4 เป็นภาพพุทธประวัติรวมๆ คือ ภาพตอนตรัสรู้ ภาพตอนได้อัครสาวกซ้ายขวา
วิหารหลวงพ่อคง, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำวิหารหลวงพ่อคง เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อคง อตีดเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดสมุทรสงคราม, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำ ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดแห่งนี้
การเดินทาง


ประวัติ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม


หลวงพ่อคง ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๐๘ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ณ บ้านสำโรง ปัจจุบันคือ ต.โรงหีบ อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เป็นบุตรรักของ นายเกตุ กับ นางทองอยู่ ต่อมานามสกุลที่ท่านใช้คือ นามสกุล "จันทร์ประเสริฐ" ซึ่งเป็นต้นสกุลของหลวงพ่อคง
เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาและโยมมารดาให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้งละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า เย็นวันนั้น หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่านถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจงกันเป็นการใหญ่ จนมีอายุ ๑๙ ปี ก็ได้ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยการงานของพ่อและแม่
พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อปี ๒๔๒๗ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า "ธมมฺโชโต" อันแปลว่า เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม
หลวงพ่อคง หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ จนกระทั่งพรรษาที่ ๒๑ ในปี ๒๔๔๘ ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม ได้อาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง
หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคงได้ทำการฟื้นฟู บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ใน พ.ศ.๒๔๖๔ และท่านได้สร้างวัตถุมงคลหลายชนิดด้วยกัน เช่น
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกสร้างในปี ๒๔๘๔ และเหรียญรุ่น ๒ สร้างในปี ๒๔๘๖ และเหรียญหล่อ อรุณเทพบุตร และเหรียญหล่อ หนุมานแบกพระสาวก เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ
เท่าที่พบเจอมี เนื้อทองแดงผสมทองเหลือง ถ้าในบางเหรียญที่ผ่านการใช้จะมีลักษณะเหมือนเหรียญฝาบาตร เหรียญสวยๆ เหรียญหนึ่งสนนราคา ๔-๖ แสนบาทแล้ว แพงน่าดู
ส่วนเหรียญที่ออกปี ๒๔๘๖ เรียกว่า "เหรียญปาดตาล" มีทั้งเนื้อเงิน ฉลุลงยา และเนื้อทองแดง เหรียญเงินสนนราคาสภาพสวยๆ ๘-๙ หมื่นบาท ส่วนเนื้อทองแดง ๒-๓ หมื่นบาท
เหรียญอรุณเทพบุตร เป็นเนื้อโลหะผสมหล่อด้านหลังเรียบ สวยๆ สนนราคา ๖-๘ หมื่นบาท และหนุมานแบกพระสาวก เป็นเหรียญหล่อที่สนนราคาประมาณ ๕-๖ หมื่นบาท
ส่วนเรื่องของปลอม ระบาดหนักมากสำหรับทุกรุ่นของหลวงพ่อคง ของเก๊หรือทำเลียนแบบทำได้ใกล้เคียงมาก ไม่ว่าจะเป็นเหรียญปั๊มหรือเหรียญหล่อ หากต้องการบูชาควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ให้เขารับประกันให้ดีกว่าไม่ต้องเสี่ยง แหมเกือบลืมบอกไป รุ่นแรกเหรียญ ๒๔๘๔ ด้านข้างเหรียญมี ๒ พิมพ์ คือ
๑.บล็อก ข้างกระบอก ด้านข้างของเหรียญมีลักษณะเรียบเนียนไม่มีริ้วรอย
๒.บล็อก ขอบสตางค์ ด้านข้างของเหรียญมีลักษณะเป็นรอยเลื่อยถี่ๆ มีลักษณะขอบเหมือนเหรียญบาทที่เราใช้อยู่ จึงเรียกว่า ขอบสตางค์ ทั้งนี้ ขอบสตางค์จะมีราคาแพงกว่าข้างกระบอกเล็กน้อย เนื่องจากหายากกว่า
ในส่วนของพุทธคุณของเหรียญหลวงพ่อคงนั้น มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า มีพุทธคุณด้านคงกระพัน โดยเฉพาะเหรียญรุ่นปาดตาล แม้ว่าจะสร้างหลังจากมรณภาพแล้วก็ยังมีความคงกระพันอยู่ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า มีคนถูกแทงด้วยมีดปาดตาล ซึ่งถือว่าเป็นมีดที่คมมากแต่ไม่เข้า จากนั้นก็ร่ำลือกันต่อๆ มา ในที่สุดก็เรียกเหรียญรุ่นดังกล่าวว่า เหรียญรุ่นปาดตาล
อย่างไรก็ตาม การเรียกชื่อพระเครื่องและเหรียญตามประสบการณ์ใช้นั้น ยังปรากฏในเหรียญรุ่นอื่นๆ อีก เช่น พระหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ได้สร้างพระขึ้นรุ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นพระผงรูปเหมือนของท่านทรงสี่เหลี่ยมนั่งอยู่บนโต๊ะ จากนั้นมีผู้นำไปใช้แล้วถูกฟ้าผ่าไม่เป็นไร จึงเรียกพระรุ่นดังกล่าวว่า พระสมเด็จฟ้าผ่า พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ รุ่นปลดหนี้ เนื่องจากผู้นำไปใช้แล้วมีประสบการณ์จากผู้ที่เป็นหนี้ก็หมดหนี้ จึงเรียกว่า พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ รุ่นปลดหนี้
หลวงพ่อคง มรณภาพวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘
เมื่อครั้งอาจารย์เภา ศกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ยังมีชีวิตอยู่ มีผู้เรียนถามท่านว่า "...หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ อาจารย์เภาจะเลือกพระเถระองค์ใดว่าท่านเด่นดังมากที่สุด..." อาจารย์เภาตอบว่า "...ฉันขอเลือกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เพราะว่าท่านเป็นหลวงพ่อของฉัน ถึงจะยิงกันฉันก็ไม่กลัว..." จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เภา ศกุนตะสุต ท่านมีความเชื่อมั่น และเคารพหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม อยู่เหนือพระเถระองค์อื่นๆ ทั้งหมด นี้เป็นประสบการณ์จากการสนทนากับปรมาจารย์เหรียญ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าทรงคุณวุฒิทางด้านนี้อย่างแท้จริง




จำที่มาของข้อมูล ไม่ได้ครับนานหลายปี(ขออภัยครับ)