ประวัติ หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

ประวัติ หลวงปู่นาม (พระครูสุวรรณศาสนคุณ) วัดน้อยชมภู่



"พระครูสุวรรณศาสนคุณ" พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งเมืองสุพรรณบุรี มีพลังจิตเข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า ชาวบ้านต่างเรียกขานนามท่านว่า "หลวงปู่ผู้เฒ่า" หรือหลวงปู่นาม หรือพระอุปัชฌาย์นาม

ปัจจุบัน พระครูสุวรรณศาสนคุณ สิริอายุ 88 พรรษา 67 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

ประวัติ พระครูสุวรรณศาสนคุณ มีนามเดิมว่า นาม ไม่ทราบนามสกุล เกิดเมื่อปี พ.ศ.2464 เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีโดยกำเนิด สำหรับประวัติชื่อโยมบิดา-มารดา และประวัติในวัยเด็ก ไม่สามารถสืบค้นได้ แม้กระทั่งตัวหลวงปู่เองก็จำเหตุการณ์ในช่วงวัยเด็กไม่ค่อยได้

      ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดบ้านกร่าง โดยมีพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระปลัดทวี (หลานหลวงพ่อมุ้ย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

      ภายหลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมกับพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง พระอุปัชฌาย์ของท่าน ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้ท่านมีความรู้ทางด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

     ในพรรษาที่ 4 ท่านได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดน้อยชมภู่ (เป็นวัด 2 วัดมารวมกัน วัดเก่ามาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดน้อยกับวัดชมภู่ รวมกันเรียกว่า วัดน้อยชมภู่) วัดนี้มีพระเกจิชื่อดังมาแต่เดิม ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้เจ้านายสมัยก่อน

      ท่านได้มาอยู่กับหลวงปู่ขำ เจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ หลวงปู่ขำ เป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว กับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ต่อมา ท่านได้ไปอยู่กับหลวงปู่เหมือน ผู้เป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม แห่งวัดน้อย และหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

       หลวงปู่เหมือน เป็นพระอภิญญา ท่านได้สั่งสอนถ่ายทอดสรรพวิชาให้ท่านมากมาย กล่าวกันว่า หลวงปู่เหมือน สามารถเสกตัวต่อให้เต็มวัด เพื่อไล่ขโมย หรือเสกข้าวให้ออกรวงทั่ววัด เพื่อเลี้ยงพระทั้งวัดก็ได้ เสกใบมะขามเป็นฝูงผึ้งไล่ลิง ที่เข้ามาทำลายข้าวของในวัด

       ดังนั้น หลวงปู่นาม จึงได้วิชาในสายหลวงปู่เหมือนมาอย่างเอกอุ พุทธาคมนี้หลวงปู่นามไม่เป็นสองรองใคร แต่ท่านไม่พูด ท่านเงียบเฉยเหมือนหลวงตาเฝ้าวัด แม้แต่หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณอีกรูปหนึ่ง ยังมีความสนิทสนมถูกอัธยาศัยกับหลวงปู่นาม ส่วนหลวงปู่นามยังเคยไปอยู่จำพรรษาที่วัดหลวงพ่อมุ่ย หลายครั้ง

     ตอนที่หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์ ยังมีชีวิตอยู่ คนมาขอพระเครื่อง ท่านยังบอกว่า "ที่สุพรรณ หมดหลวงพ่อมุ่ย ต้องไปหาพระอาจารย์นาม วัดน้อยฯ เขาเก็บไว้หมด"

       ในสมัยหนุ่ม หลวงปู่นามไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งสรรพวิชาต่อยอดในสายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านยังเป็นสหธรรมิกกับท่านเจ้าคุณผัน และท่านเจ้าคุณเที่ยง (เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ รูปปัจจุบัน) ท่านเจ้าคุณทั้งสองยังเรียกขานหลวงปู่นามว่า "หลวงพี่"

         หลวงปู่นาม ปลุกเสกพระเครื่อง เพื่อแจกลูกศิษย์ แต่ไม่ได้จัดพิธีใหญ่โต คนที่ได้รับไป ล้วนมีประสบการณ์ทุกคน หลวงปู่นาม เคยปรารภความหลังในกุฏิว่า "สมัยฉันหนุ่มๆ นะ เสกพระงบน้ำอ้อยไว้ ไม่แน่ใจนะ ก็เอาใส่รถไปให้หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย ท่านเสกให้ พอเปิดกล่อง ท่านก็บอกว่า ผมเสกไม่เข้าแล้ว ท่านเสกจนจะบินแล้วนี้"

         " ฉันก็ยังไม่แน่ใจ เอาอีก เอาไปให้หลวงพ่อดี วัดพระรูป ท่านเสก ท่านหยิบเท่านั้นแหละ ท่านกำพระไว้ ยกมือจบยกขึ้นเหนือหัวท่านเลย หาว่าเรามาล้อท่านเล่น ท่านว่า เสกจนหมุนได้แล้วนี่จะให้ผมทำอะไรอีก "

       ในด้านถาวรวัตถุ ท่านสร้างอุโบสถไว้หลายหลัง สร้างวิหาร กุฏิสงฆ์ ปรับภูมิทัศน์บริเวณวัดน้อยชมภู่ ให้เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม และแจกทุนการศึกษา ส่งพระภิกษุ-สามเณรมาเรียนกรุงเทพฯ ทุกปี

       หลวงปู่นาม หรือ พระครูสุวรรณศาสนคุณ เป็นยอดพระเกจิที่ชาวเมืองสุพรรณบุรี ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นคนเงียบ ไม่พูด ไม่คุย แต่ชาวเมืองสุพรรณทราบดีว่า พระรูปนี้เป็นยอดพระเกจิที่เข้มขลังขนานแท้ ท่านสืบพุทธคุณสายลุ่มแม่น้ำท่าจีนและสายสุพรรณมาอย่างครบถ้วน



ซึ่งเป็นปณิธานของ***หลวงปู่ผู้เฒ่า***แห่งสุพรรณบุรี






ใด้ข้อมูลจาก www.itti-patihan.com ขอขอบคุณที่ใด้ให้ความรู้ กับชนรุ่นหลัง

 
--------------------------------------------------------------------------------------------- 
 


  หลวงปู่พระอุปัชฌาย์นาม วัดน้อยชมภู่ สุพรรณบุรี สุดยอดเกจิเถราจารย์ ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตา แห่งลุ่มแม่น้ำ ท่าจีน สืบทอดพุทธาคมสาย


สมเด็จโตวัดระฆัง

หลวงพ่อเนียมวัดน้อ หลวงปู่ขำ หลวงปู่เหมือน

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อมตะปรมาจารย์
 
     ขณะนี้ทางวัดได้ดำเนินการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน จำเป็นต้องใช้เงิน ในการก่อสร้าง ประมาณ 14ล้านบาทยังขาดทุนทรัพย์อีกจำนวนหนึ่ง หลวงปู่ท่านจึงนำพระเก่าของท่าน จำนวนหลายอย่าง หลายพิมพ์ด้วยกัน นำออกให้บูชา พระชุดนี้ ได้สร้างภายในวัดทั้งหมด ในสมัยนั้น พระเณร ศิษย์วัดช่วยกันทำ ไม่ว่าจะเป็น การกดพิมพ์พระ ตลอดจนเผาเอง


เสร็จแล้วก็รวมเข้าบรรจุเก็บไว้ภายในวิหารพระนอน

                (  วิหารเก่าอายุ กว่าร้อยปี สร้างสมัยหลวงปู่ขำ  )
     ระหว่างที่หลวงปู่ จำพรรษาที่วิหารหลังนี้ ทำวัตร-สวดมนต์ เจริญกรรมฐาน คู่กับการเสกพระไปด้วยตลอด เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ย้ายพระมาไว้ที่กุฎิหลวงปู่หลังปัจจุบัน(จะทำการบูรณะวิหาร)เสกอย่างจริง จังเมื่อไตรมาส ปี 2552 เรื่อยมาทุกวัน ตามที่หลวงปู่เห็นสมควรผ่านพิธีใหญ่ก็หลายครั้ง จริงๆแค่หลวงปู่ อธิฐานจิต แค่ครั้งเดียว ก็ใช้ได้แล้ว แต่ เอาซิ พระรุ่นนี้ เก็บเสกเงียบมาถึง 3 ไตรมาสเต็ม เรื่องอานุภาพ พุทธคุณ ครบเครื่อง เอาเป็นว่าหาพระขุนแผนบ้านกร่างแท้ๆ ไม่ได้ ใช้พระเนื้อดินของวัดน้อยชมภู่ แทนได้เลย



(พระชุดนี้ หลวงปู่ได้ต้งอธิฐานจิตเพื่มให้อีก พร้อมทั้งพรมน้ำมนต์อีกเต็มๆเลย ครับ)

  พระสมเด็จปรกโพธิ์ (ยอดผงพุทธคุณ)ไตรมาส 54

     สมเด็จ รุ่นนี้ สร้างโดยใช้ผงเก่าผสมอยู่มาก ผงหลักที่ใช้ หลวงปู่ท่านได้ลบผงเองกับมือ ผงพรายกุมาร และผงพุทธคุณต่างๆของหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ (ได้จาก อ.เพียรวิทย์ ศิษย์เอกใกล้ชิดหลวงปู่ทิม ครั้งที่หลวงปู่ไปเสกที่พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทิม)
     ผงไม้เท้าครูหลวงปู่ขำ อายุ กว่า 200 ปี ซึ่งหลวงปู่ตะไบเอง

     ผงเก่าของวัดแค (วัดของหลวงปู่คง อาจารย์ขุนแผน)

     ผงจินดามณีของหลวงปู่อิ่ม วัดหัวเขา และผงศักดิ์สิทธิ์อื่นอีกจำนวนมากฯลฯ

  เกล็ด เล็กเกล็ดน้อย กล่าวถึงเรื่องเสกพระสมเด็จนั้น ถือว่าหลวงปู่ท่านเอกอุองค์หนึ่ง หาใครเปรียบยาก ด้วยสมัยหนุ่มๆ ท่านได้จำพรรษาอย่วัดระฆัง ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แนบ เจ้าอาวาส วัดระฆัง พระเกจิที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากในสมัยนั้น ครั้นท่านจะมรณะภาพ ได้มอบ ปู่ฤาษี สืบทอดมาตั้งแต่ยุค สมเด็จโต ให้หลวงปู่เก็บรักษาไว้ ในครอบแก้ว เป็นเครื่องยืนยันว่าหลวงปู่ท่านสืบทอดพุทธาคมในสายสมเด็จโตอย่างแท้จริง มีลูกศิษย์ท่านหนึ่ง สามารถสัมผัสพลังพุทธคุณได้ และเคยสัมผัส พระสมเด็จของสมเด็จโตวัดระฆังแท้ๆ ถามหลวงปู่ว่า “พระของหลวงปู่ทำไม พุทธคุณ คล้ายของสมเด็จโต วัดระฆัง
 
” หลวงปู่ตอบอย่างอารมณ์ดีว่า “จะไม่ให้เหมือนได้ไง ก็ฉันอาราธนาสมเด็จโตท่านมาเสกเอง”