พระ ชัยวัฒน์ หลวงปู่นาม เนื้อ ทองทิพย์ ราคา | |||
รายละเอียด : พระชัยวัฒน์ หลวงปู่นาม เนื้อทองทิพย์ พระชัยวัฒน์ ชนวนพระกริ่ง พรหมร์สี หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่ ปี ๒๕๕๓ หลวงปู่นาม ท่านบอกว่า "นี่เป็นของดี โลหะดี พิธีดี มงคลดี ฤกษ์ดี จะนำไปทำอย่างอื่นก็เสียดาย" ท่านจึงเอาชนวนทั้งหมดมาหล่อเป็น "พระชัยวัฒน์" ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับพระกริ่งพรหมรังสีรุ่นแรก ที่ใช้เป็นชนวนนำมาสร้าง "พระชัยวัฒน์พรหมรังสี" หลวงปู่นามกำหนดฤกษ์ให้หล่อพระในวันที่ 15 ก.ค. 2553 ซึ่งเป็นฤกษ์พรหมประ สิทธิ์ที่ว่าดีนัก เมื่อหล่อแล้วท่านได้ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสก 19 วัน จึงนำออกให้บูชา เน้นให้มีพุทธคุณครบสูตรทุกด้านตรงกับตำราสร้างพระชัยวัฒน์ พระชัยวัฒน์ จากตำนานมีการสร้างมาตั้งแต่โบราณ บ้างก็ว่าตำราเก่าเป็นของ "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว" อาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงติดไว้ที่มาลาเบี่ยง พระมาลานี้ทรงฉลองพระองค์คราวออกรบกับพระมหาอุปราชา จากนั้นตำราก็ตกทอดมาถึงยุครัตนโกสินทร์ มีหลักฐานว่าได้ตกทอดมาถึงสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ต่อมาถึงท่านเจ้ามา หรือ พระพุฒาจารย์ (มา อินทโร) วัดสามปลื้ม, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, สมเด็จสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และ พระครูลืม วัดอรุณ (วัดแจ้ง) ตามตำราว่าไว้ "พระชัยวัฒน์" ส่วนใหญ่นิยมสร้างคู่กับ "พระกริ่ง" แต่มีขนาดเล็กกว่า คำว่า พระชัยวัฒน์ ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า "ชัย" แปลว่า การชนะ หรือ สำเร็จ และ คำว่า "วัฒน์" มาจากคำว่า "วัฒนา" ให้ความหมายว่า ความเจริญ การงอกงาม เมื่อรวมกันแล้วจึงได้ความหมายว่า "มีชัยชนะ ความสำเร็จ ความเจริญงอกงาม" พระชัยวัฒน์ มีความหมายที่เป็นมงคลอย่างนี้ จึงมีธรรมเนียมที่เจ้านายชั้นสูงจะต้องทำพิธีหล่อพระชัยวัฒน์ เพื่ออาราธนาใช้บูชาประจำตัว เมื่อคราวมีงานการพิธีต่างๆ ในพระราชวังจะอัญเชิญพระชัยวัฒน์ออกมาตั้งเป็นประธาน หรือแม้แต่การศึกสงคราม พระมหากษัตริย์จะต้องทำพิธีอัญเชิญ พระชัยวัฒน์นำหน้าทัพหลวง เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้วยเหตุผลว่าเป็นมงคล และนำมาซึ่งชัยชนะทั้งกองทัพ หลวงปู่นามท่านสร้างและปลุกเสกพระชัยวัฒน์ของท่านเงียบๆ ในกุฏิ เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้นำไปบูชาพบแต่ความสุข ความเจริญ ความสำเร็จ สมหวัง |