บทที่ ๔ การเบียดเบียนสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็กเป็นอาหาร

บทที่ ๔ การเบียดเบียนสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็กเป็นอาหาร

ข้อสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยอย่างยิ่งในการถือศีลเจพรต คือการละเว้นจากการกินเนื้อ สัตว์ใหญ่ที่มีคุณค่าอันใหญ่หลวง นั่นคือ โค และ กระบือ ซึ่งพระมหาโพธิสัตว์ได้เปรียบเทียบและยกย่องสัตว์ชนิดนี้ว่าเป็นสัตว์ที่ อยู่คู่กับฟ้าดิน เป็นสัตว์ที่ ให้น้ำนมแก่ปวงชนทั้งหลาย นอกจากนั้นแล้ว โคกระบือก็ยังมีภาระหน้าที่ที่นับว่า เป็นบุญคุณแก่ชีวิตมนุษย์ผู้ที่อยู่ในพุทธศาสนา เป็นส่วนใหญ่อีกด้วย
ในอดีตกาลโคกระบือก็เป็นสัตว์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองในการถูกนำไป ใช้แรงงานเพื่อลากจูง และ ไถนา เพื่อ การเพาะปลูกข้าวและพืชพันธุ์เกษตร ให้เราได้บริโภคกัน และโดยเฉพาะเมล็ดข้าวแต่ละเมล็ดในอดีตก็ได้มาจากโคกระบือที่ถูกนำมาไถนาทำนาข้าวเป็นส่วนมาก อีกทั้งโค กระบือยังเป็นสัตว์ที่ ไม่เบียดเบียนใคร คือ กินแต่หญ้าฟาง เป็นอาหาร และมิได้กินสัตว์เล็กสัตว์น้อยหรือสัตว์ใดๆ ในยุคสมัยก่อนๆ จึงยกย่องกันว่าโคกระบือเป็นสัตว์ที่สูงด้วยคุณค่า เหมือนกับพระแม่โคผู้ประทานธัญญาหาร ให้กับมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จงพิจารณาดูเถิดว่าหากเราเอาแรงเขามาใช้งาน แล้วยังเอาเนื้อเขามากินนั้น ก็เปรียบเสมือนกับผู้ไม่รู้บุญคุณของสัตว์ใหญ่เหล่านี้ พระมหาโพธิสัตว์จึงได้บัญญัติและกำหนดการไม่เบียดเบียนเนื้อสัตว์ในศีลเจพรต โดยให้ ละจากการเบียดเบียนเนื้อสัตว์ใหญ่เหล่านี้อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่าบางผู้จะยึดถือการกินเจตามประเพณีเพียงชั่วครั้งชั่วคราวก็ตาม แต่ ควรจะละจากการบริโภคเนื้อโค กระบือ ตลอดไป เพราะคุณงามความดีของ แม่โคนั้นเปรียบเสมือนแม่ที่ให้ความเจริญเติบโต ต่อร่างกายของเรา หากแม้นเรายังไปเบียดเบียนเขาก็จะเหมือนกับว่าเราทารุณกรรมต่อผู้ที่มีพระคุณ หรือเทียบเท่ากับเป็นผู้อกตัญูญูที่ไม่รู้จักบุญคุณ
ฉะนั้น หากผู้ใดมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการประหัตประหารชีวิตของโค-กระบือ ก็ถือว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำบาปต่อเลือดเนื้อของพ่อและแม่ตนด้วย พระมหาโพธิสัตว์จึงได้กำหนดห้ามการกระทำบาปในลักษณะเช่นนี้ จนเป็นประเพณีนิยมที่ไม่กินเนื้อโคกระบือมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้
ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้น “สัตว์ใหญ่” ก็เปรียบเหมือนสัตว์ที่มีหนี้กรรมจากการกระทำของตนเองน้อยหน่อย ส่วน “สัตว์เล็ก” ก็คือผู้ที่มีเวรกรรมอยู่มาก และจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกหลายๆ ภพ หลายๆ ชาติ เพราะฉะนั้น คำอ้างของมนุษย์เราที่นิยมกินเนื้อสัตว์มักจะกล่าวกันอยู่เสมอว่า หากกินเนื้อสัตว์ใหญ่จะต้องรับกรรมมาก แต่ถ้ากินสัตว์เล็กก็รับกรรมน้อย เป็นคำกล่าวที่ เป็นการเข้าใจอย่างผิดๆ
การเบียดเบียนสิ่งที่มีจิตวิญญาณนั้น เป็นการกระทำที่ผิดต่อศีลและเป็นบาปทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงชนิดหรือขนาดของสัตว์ เพราะสัตว์ทุกๆ ตัวก็มีจิตวิญญาณทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีคุณค่าที่ให้น้ำนม และให้แรงงานที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง เพราะฉะนั้น การบริโภคสัตว์ชนิดนี้จะมีความบาปหนาเพิ่มขึ้นอีก
ดังนั้น ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ หรือ สัตว์สี่เท้าที่มีจิตวิญญาณแรงกล้ากว่าสัตว์สองเท้า ซึ่งมีจิตวิญญาณอ่อนกว่า ก็อาจจะได้รับการอาฆาตแค้นรุนแรงมากกว่าสัตว์เล็ก มิใช่ว่าจะเป็นการรับกรรมมากกว่า เพราะ ผลของกรรมในการกระทำบาป นั้น ย่อมจะ มีผลเท่ากันตลอดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือใหญ่ แต่ผลของความอาฆาตแค้นก็ต้องแตกต่างกันไป ตามจำพวกของสัตว์ ตามแต่จิตอาฆาตพยาบาทของสัตว์แต่ละดวงวิญญาณ