พระปิดตา วัดสะพานสูง "วัดหลวงปู่เอี่ยม" รุ่นเสาร์ ๕ ปี ๕๓ เนื้อผง





 พระปิดตา วัดสะพานสูง "วัดหลวงปู่เอี่ยม" รุ่น ปี ๕๑         

                                                    ราคาที่นี่  หน้าหลัก

รายละเอียด:



วัตถุมงคลเสาร์5-มหามงคล หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง


พุทธคุณ
พระภควัมบดีหรือพระปิดตาและตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม นอกจากจะพบว่ามีพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีแล้ว ยังให้ผลทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยมด้วย ชาวบ้านหรือใครที่ได้รับพระปิดตาและตะกรุดของหลวงปู่ไปแล้ว มีความเชื่อมั่นและยึดมั่นเป็นอย่างยิ่ง ระยะนั้นเสือปล้นและนักเลงชุกชุมมาก แต่ชาวบ้านหาได้เกรงกลัวไม่ ถ้าถูกปล้นจี้ก็จะจับอาวุธเข้าสู้ เมื่อโดนยิงแล้วไม่เข้ายิ่งใจใหญ่ท้ายที่สุดขุนโจรมีอันต้องล่าถอยไปเองด้วยบารมีของหลวงปู่เอี่ยม


คําขวัญใหม่ประจำจังหวัดนนทบุรีมีว่า "ทุเรียนเหนือชั้น เครื่องปั้นดินเผา เมืองเก่าวัดงาม ตลาดน้ำน่าชม รื่นรมย์สวนสมเด็จ เกาะเกร็ดงามตา พฤกษานานาพันธุ์ บ้านจัดสรรเป็นเลิศ" ถือเป็นจังหวัดที่ใกล้กรุงเทพฯ แค่เอื้อม

วัดวาอารามยังคงเอกลักษณ์วัดเก่าสมัยอยุธยาตอนปลายถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นได้อย่างสมบูรณ์

"วัดสะพานสูง" เป็นวัดหนึ่งที่มีทั้งพุทธศิลป์ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ครบถ้วน เดิมชื่อ "วัดสว่างอารมณ์" สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อจากวัดสว่างอารมณ์มาเป็นชื่อ "วัดสะพานสูง" นั้น คนเก่าแก่เล่าสืบทอดกันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้เสด็จออกตรวจการคณะสงฆ์และได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่าง อารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน 2 ชื่อ

ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่า วัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็นวัดสะพานสูง จนตราบเท่าทุกวันนี้

นอกจากนั้น วัดสะพานสูง ยังเป็นวัดที่สร้างชื่อเสียงให้เมืองนนทบุรี ในนาม "พระปิดตาจุ่มรัก สูตรวัดสะพานสูง" สร้างโดย "หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม" บรรดาเซียนพระบรรจุให้เป็นหนึ่ง ในพระชุดเบญจภาคีพระปิดตา ประกอบด้วย 1.พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี 2.พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนท บุรี 3.พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตร พิมุข) กรุงเทพฯ 4.พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี 5.พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา



ฤกษ์ดีเสาร์ 5 ปีนี้มีเพียงวันเดียว ซึ่งตรง กับวันที่ 23 เมษายน 2554 นักษัตรที่ 20 มหัทธโนฤกษ์ วันมฤคโชค ราชาโชค กระทิงวัน สายเลือดหลวงปู่เอี่ยมองค์หนึ่งในยุคปัจุบันคือ "หลวงปู่วาส" วัดสะพานสูง ปัจจุบันสิริอายุ 96 ปี ท่านมีเชื้อสายเป็นหลานหลวงปู่เอี่ยม เพราะท่าน เป็นหลานทวดอิ่ม ที่เป็นน้องสาวของหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่วาสสืบวิชาสายหลวงปู่เอี่ยมอย่างครบถ้วน

"หลวงปู่วาส" ได้ดำริและมอบหมายให้ "พระครูกิตติวิริยาภรณ์" เจ้าคณะอำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างวัตถุมงคลและประกอบพิธีมหาพุทธา ภิเษกในวันเสาร์ 5 ในรูปลักษณ์ "พระปิดตาเสาร์ 5 สะพานสูง" ด้วยการนำผงเก่าเชื้อสายหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ชั้นหัวกะทิมีพุทธคุณสูงสุดครอบจักรวาล สร้างพระปิดตาตำรับวัดสะพานสูงขนานแท้ดั้งเดิม ฝังพระปรกใบมะขามองค์จ้อย เพื่อให้มีพุทธคุณครบถ้วนทุกด้าน ทั้งมหานิยมมหาเสน่ห์เมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย รวมเรียกว่าครอบจักรวาล นำมาจุ่มรักน้ำเกลี้ยง ตามตำรับหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนามองค์บูรพาจารย์ และองค์หลวงทวดของหลวงปู่วาส นอกจากนั้น ยังจัดสร้าง "เบี้ยแก้เสาร์ 5 รุ่นแรก" หลวงปู่วาสท่านทำเบี้ยแก้เป็นยอดวิชา ที่ท่านเรียนมาจากท่านอาจารย์แปลก ร้อยบาง ลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม ลูกศิษย์ลูกหารอคอยกันมานาน เพราะเมื่อ 20 ปีก่อน หลวงปู่วาสได้หุงปรอทด้วยการสูญไฟเครื่องเป่าลมแบบโบราณ โดยว่าคาถาปลุกกำกับให้ปรอทเป็น ท่านหุงและกำกับพระคาถาทับถมที่ปรอทถึง 84 ครั้งเท่าจำนวนพระธรรมขันธ์

ครั้งสุดท้าย หลวงปู่วาสหุงและว่าคาถาปลุกจนปรอทนั้นระเบิด เป็นลูกไฟอย่างน่าอัศจรรย์ ปรอททั้ง หมดท่านได้กรอกใส่ขวดและปลุกเสกมานานถึงปัจจุบัน นำแม่ปรอทที่ศักดิ์สิทธิ์ทำเบี้ยแก้เสาร์ 5

วัตถุมงคลอีกอย่างที่จัดสร้าง "เหรียญ นั่งพาน" เป็นเหรียญสวยเหรียญหลักของหลวงปู่วาส เหรียญนั่งพานนี้มีพุทธคุณทางด้าน ยกดวงชะตา เสริมดวง เสริมโชควาสนาให้สูงขึ้นอยู่แล้ว ที่ด้านหลังลงยันต์มงกุฎพระเจ้า ที่มีอานุภาพครอบจักรวาล เป็นมงคลหรือป้องกันสรรพภัยได้ร้อยแปด ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ


รายได้จากการนี้ หลวงปู่วาส มอบให้บริจาคการองค์กรกุศลต่างๆ ตามที่ท่านเห็นสมควร อาทิ เมื่อปี 2552 หลวงปู่วาสได้บริจาคปัจจัยที่คณะศิษย์ได้ร่วมทำบุญ จัดตั้งเป็นกองทุนเผยแผ่พระพุทธศาสนาวัน อาทิตย์วัดสะพานสูง เป็นจำนวนเงิน 450,000 บาท นำไปเป็นทุนการศึกษาส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มให้บุตรหลานชาวบ้านข้างวัดที่มีฐานะยากจน มีนายวิเชียร พุทธิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานร่วมแจกทุนดังกล่าวด้วย รวมทั้งทุนเรียนดีสำหรับนักเรียนที่สามารถสอบผ่านธรรมศึกษาชั้นตรี-โท และเอก รวมทั้งปรับแนวการเรียนการสอนธรรมศึกษาไม่ให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายด้วยการจัดสอนดนตรีไทยประเภทอังกะลุง และประเภทเครื่องสาย

ท่านได้สนับสนุนปัจจัยส่วนหนึ่งในการจัดหาเครื่องดนตรี รวมทั้งจัดให้มีการประกวดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดสะพานสูงในงานทำบุญปิดทองหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อทองสุข ประจำปี 2553 มีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในอำเภอปากเกร็ดและอำเภอใกล้เคียงร่วมส่งเข้าประกวดชิงถ้วยรางวัล

สำหรับการมอบทุนการศึกษาประจำปี 2553 หลวงปู่วาสยังได้มอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนยากจน ร่วมทั้งเด็กกำพร้า ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับปริญญาโท ทุกสาขาวิชา 









"หลวงปู่วาส สีลเตโช วัดสะพานสูง" ปัจจุบันสิริอายุ 95 ปี เป็นพระเกจิอาจารย์ทายาทธรรมผู้สืบทอดพุทธาคมเกจิอาจารย์สายวัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงปูวาส สีลเตโช
(เจ้าอาวาสวัด องค์ปัจจุบัน)
  
ประวัติ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

     บทความต่อไปนี้ผมขออนุญาตคัดลอกบทความจากพี่เกร็ดเพชรนะครับ....ขอขอบคุณพี่เกร็ดเพชร มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
พระครูโศภณศาสนกิจ นามเดิมว่า กลิ่น ท่านเกิด ณ วันอังคารขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู สัปตศก 1227 เวลา 2.00 น.ลักขณาสถิตเตโชธาตุ ราศีสิงค์ ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2408 บิดาชื่อนายเปลี่ยน มารดาชื่อนางอิ่ม จันทร์เปลี่ยน ท่านเป็นพี่ชายใหญ่เเละมีน้องสาวอีกคน บ้านเดิมของบรรพบุรุษอยู่ที่ตำบลบ้านเเพรก อำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่ออายุได้ 11 ปี ท่านได้ไปศึกษาอักษรวิธี ที่วัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี การศึกษาของท่านในครั้งนี้เป็นการศึกษาในอักษรไทย
ครั้นอายุได้ 17 ปี ท่านได้บรรพชา เเละได้ศึกษาอักษรขอมเเละบาลี ในสำนักท่านอาจารย์อิน วัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี เมื่ออายุได้ 19 ปี โยมผู้หญิงของท่านได้ถึงเเก่กรรม ท่านจึงได้ลาเพศบรรพชาเเล้วกลับมาอยู่บ้านเดิมของท่าน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายมาอยู่กับท่านอาจารย์เอี่ยม วัดสะพานสูง ตำบลบ้านเเหลมใหญ่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในฐานะเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เอี่ยม พ.ศ. 2428 ท่านอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 (เเปดหลัง) ปีระกา ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม ณ พัทสีมา วัดสะพานสูง พระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รุ่ง วัดท้องคุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดสัลเลข (วัดสาลีโข) เมื่อท่านอุปสมบทเเล้ว มีฉายาว่า จนฺทรงฺสี ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดสะพานสูงตลอดมาท่านชอบศึกษาหนักไปทางวิปัสสนาธุระ พร้อมทั้งได้ศึกษาทางเวชศาสตร์จากพระอาจารย์เอี่ยม เป็นจำนวนมาก จนถึงเมื่อกาลพระอาจารย์เอี่ยมได้ถึงกาลมรณภาพไปเเล้ว การศึกษาเวชศาสตร์ของท่านจึงได้เบาบางลง


...บทความทั้งหมด พี่เกร็ดเพชรได้คัดลอกจากหนังสือเเจกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ปี 2490...
ต่อครับ...
พ.ศ. 2438 ท่านได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง โดยความเห็นพร้อมกันเป็นเอกฉันท์ในทางฝ่ายประชาชนเเละท่างคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระปรีชาเฉลิม(เเก้ว) วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้อนุมัติ เมื่อท่านได้รับตำเเหน่งเจ้าอาวาสเเล้ว ปรากฎว่าท่านเป็นผู้มักน้อย ไม่ต้องการเเสวงหา หรือสะสมในสิ่งที่ไม่จำเป็น ถือสันโดษ ไม่มีโลภะเจตนา พร้อมทั้งได้วางหลักการปกครองวัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดมั่นในสันติวิธีทุกประการท่านมีอุปนิสัยหนักไปทางข้อวัตรปฎิบัติ เเละ ปฎิสังขรวัดวาอาราม ฉะนั้นนับเเต่ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูงเเล้ว ท่านจึงเริ่มสถาปนาวัดให้เจริญขึ้นตามลำดับ อีกประการหนึ่งท่านเป็นผู้สนใจในทางคันถธุระ คือ การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อนุชนร่นหลังได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี เเม้ในทางปริยัติท่านได้จัดหาครูมาสอนเเละได้จัดหาสถานที่เรียน พร้อมทั้งท่านได้จัดหาหนังสือมาไว้มากมาย ยังความสะดวกเเก่ผู้ศึกษา อนึ่งท่านเป็นผู้ชำนาญในทางเวชกรรม ท่านจึงได้จัดพิมพ์ตัวยาที่ท่านเคยใช้ ไว้ข้างท้ายนี้ตามสมควร ในทางอิทธิเวช ท่านได้ศึกษามาได้อำนวยเเก่บรรดาศิษย์เเละบุคคลอื่นๆที่เจ็บป่วยมาให้หายจากโรคต่างๆ ในทางคาถาอาคม ท่านได้ปลุกเสกเลขยันต์ ย่อมเป็นที่ซาบซึ่งในอิทธิปาฎิหารย์ เเก่ศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกเเหวนมงคลเก้า เเละเสมารูปสมเด็จพระสังฆราช ของราชการหลายครั้งด้วยกัน นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ชำนาญท่านโหราศาสตร์อีกด้วยโดยอาศัยวิชาความรู้เเละคุณธรรมของท่าน ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของบรรดาศิษย์เป็นอย่างยิ่ง
ครั้นต่อมาในปี 2447 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลบ้านเเหลม ..เมื่อวันที่ 9 พฤษจิกายน 2467 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็น พระครูโสภณศาสนกิจ
ปี 2479 ได้รับตำเเหน่งกรรมการศึกษาประจำอำเภอปากเกร็ด
ปี 2482 ได้รับตำเเน่งเป็นพระอุปัชฌา
ปี 2487 ท่านได้ตำเเหน่งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ ในตำเเหน่งองค์การสาธารณปการณ์
ครั้นย่างขึ้นปี พ.ศ. 2490 ท่านย่างเข้า 82 ปี ท่านได้เริ่มป่วยด้วยโรคชราเล็กน้อย เเต่ยังไปไหนมาไหนได้เป็นปกติ ครั้นต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2490 เวลา 4.00 น.ท่านได้เริ่มป่วยเป็นลมหน้ามืด มีอาการเสียดเเทงขึ้นตามเส้นสูญของท้อง เมื่อฉันยาเเล้ว อาการก็หายปกติ ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 ท่านมีอาการกำเริบอีก ในวันที่ 8 อาการท่านไม่ทุเลาลง เเต่รุนเเรงทวีขึ้นตามลำดับ นายเเพทย์ได้ฉีดยาเเละถวายยาให้ฉัน อาการก็ทรงอยู่เป็นพักๆ ตามความเห็นของเเพทย์ลงความเห็นว่า กระเพาะอาหารเเละลำไส้หยุดทำงาน ครั้นถึงเวลา 19.00 น. ไตได้หยุดทำงานไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ อาการก็ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงเวลา 1.10 น. ของวันที่ 8 มกราคม 2490 ท่านจึงไดมรณภาพลงท่ามกลางพยาบาลที่รักษาเเละบรรดาศิษย์ สิริรวมอายุได้ 82 ปี โดยประมาณพรรษากาลได้ 61 พรรษา การมรณภาพของท่านได้นำพาวิปโยคมาสู่ศิษย์





ขอขอบคุณได้ข้อมูลความรู้จาก (web.พลังจิต)ครับ