เหรียญหลวงพ่อย้อน รุ่นแรก เนื้อ อัลปาก้า

1
2
3
4
เหรียญหลวงพ่อย้อน      รุ่นแรก    เนื้อ  อัลปาก้า
รายละเอียด :  เหรียญหลวงพ่อย้อน เนื้อทองแดงรมดำ สร้างน้อย เนื้อเงิน,นวะ,อาปาก้า หมดแล้ว หลวงพ่อย้อน วัดโตนดหลวง ในกล่องจากวัดฯ ประวัติหลวงพ่อย้อน วัดโตนดหลวง (ตอนที่๑)เดิมชื่อย้อน ยิ้มแย้ม เกิดที่หมู่ ๒ ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2478 ปีกุล ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3โยมพ่อชื่อหรั่ง โยมแม่ชื่อเพลิน สกุล ยิ้มแย้ม มีอาชีพเกษตรกรรม หลวงพ่อย้อนมาอยู่วัดโตนดหลวงตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ท่านมีหน้าที่ไปรับภัตตราหารที่ชาวบ้านจัดถวายให้หลวงพ่อทองสุขทุกเช้า โดยใช้กระจาดหาบไปรับ พอรับกลับมาแล้วก็ตั้งสำรับ ประเคนให้หลวงพ่อทองสุข จนหลวงพ่อทองสุขฉันเสร็จก็จะเหลือมาถึงเด็กชายย้อนกิน เสร็จแล้วก็จัดการล้างสำรับก่อนไปโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงพ่อย้อนได้กินข้าวเสกของหลวงพ่อทองสุขเป็นเวลานาน พอ ๘ ขวบก็เรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดโตนดหลวง ตกเย็นก็ต้องทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระพร้อมรับใช้หลวงพ่อทองสุขในบางครั้ง ในช่วงนั้นมีโอกาสได้เรียนหนังสือขอมกับหลวงพ่อทองสุขทุกๆวันหยุด โดยหลวงพ่อย้อนได้เรียนเพียงรูปเดียว ( ส่วนเด็กวัดคนอื่นในรุ่นเดียวกันไม่มีใครสนใจจะเรียน ) นอกจากนี้หลวงพ่อทองสุขยังสอนวิชากระบี่กระบองที่ท่านสำเร็จมาจากวัดโพธาวาสและการทำตัวหนังตะลุงที่ไม่รู้ว่าท่านเรียนมาจากไหนให้อีก หลวงพ่อย้อนเล่าว่า หลวงพ่อทองสุขท่านชอบหนังตะลุงมากและมีรูปปั้นครูฤๅษีอย่างที่เราเห็นในหนังตะลุงคือยืนสะพายย่ามหลังโก่งมือหนึ่งถือไม้เท้าและอีกมือหนึ่งถือพัด แต่จะพิเศษตรงที่ปู่ฤๅษีองค์นี้ท่านทำท่าปัดพัดไปมาอย่างที่เรียกว่าปัดตลอด ปัจจุบันไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป 

      เมื่อกล่าวถึงหลวงพ่อทองสุขกับหนังตะลุงแล้ว หลวงพ่อย้อนก็อดไม่ได้ที่จะเล่าว่าในสมัยนั้นคณะหนังตะลุงจากปักษ์ใต้นั่งรถไฟเข้ามาเล่นทางกทม.ต้องผ่านสถานีรถไฟหนองศาลาซึ่งอยู่ด้านหลังวัดก็มักจะเกิดเหตุรถไฟเสียทำให้ต้องลงพักแรมที่วัดโตนดหลวงซึ่งเป็นวัดใหญ่สะดวกสบายที่สุดในสมัยนั้น และทุกคณะต้องเล่นหนังตะลุงให้หลวงพ่อทองสุขและครูฤๅษีปัดตลอดดูเป็นการบูชาครู ไม่อย่างนั้นก็ไปต่อไม่ได้ เพราะรถไฟซ่อมอย่างไรก็ไม่สำเร็จ แต่พอเล่นหนังบูชาครูแล้วรถไฟกลับใช้การได้ทันทีซึ่งเป็นเรื่องแปลก คณะหนังตะลุงเหล่านั้นเมื่อมาพบกับหลวงพ่อทองสุขแล้วก็เกิดศรัทธา ทำให้ทุกๆครั้งที่เดินทางผ่านวัดโตนดหลวงต้องแวะกราบนมัสการและเล่นหนังตะลุงบูชาหลวงพ่อทองสุขและครูปู่ฤๅษีปัดตลอดเป็นประจำเสมอมา 
       

         ในระหว่างที่หลวงพ่อย้อนเป็นเด็กวัดอยู่กับหลวงพ่อทองสุขนั้น ท่านได้เห็นความอัศจรรย์ในตัวหลวงพ่อทองสุขหลายอย่าง ทั้งยังซึมซับวิธีการปลุกเสกและลงเลขยันต์ต่างไว้อย่างไม่รู้ตัว แต่ก็ไม่ได้เรียนอย่างเป็นทางการสักที กระทั่งเมื่ออายุ ๑๔ ปี ครอบครัวของหลวงพ่อย้อนมาตามขอให้ออกจากวัดไปเป็นลูกเรือประมง ล่องทะเลหาปลาไปเรื่อย เพื่อช่วยหารายได้เข้าบ้าน ท่านสามารถเก็บเงินให้พ่อแม่ได้หลายหมื่นบาทซึ่งถือว่ามากทีเดียวในสมัยนั้น พออายุครบบวช หลวงพ่อทองสุขได้ให้โยมพ่อกับพี่ชายไปตามกลับมาบวช เพราะท่านคงเล็งเห็นด้วยญาณวิถีว่าวันหนึ่งหลวงพ่อย้อนจะต้องเป็นผู้ที่กลับมาปกครองดูแลวัดแห่งนี้สืบต่อไป ส่วนหลวงพ่อย้อนขณะนั้นกำลังสนุกกับชีวิตวัยรุ่นยังไม่อยากบวช แต่ก็ไม่กล้าขัดใจโยมที่บ้านและก็เกรงในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทองสุข เลยพยายามต่อรองให้พ้นจากเรื่องบวช โดยสร้างเงื่อนไขที่ยากจะเป็นไปได้ด้วยการขอหลวงพ่อทองสุขว่าจะบวชตอนตีสามได้หรือไม่ ปรากฏว่าหลวงพ่อทองสุขตอบตกลง หลวงพ่อย้อนจึงต้องทำการบรรพชาอุปสมบทในคืนวันที่ 
  

      ๑๑ เวลาตีสาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ เสร็จตอนรุ่งเช้า โดยมีหลวงพ่อทองสุข เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อทองหล่อ วัดหนองศาลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ.โบสถ์มหาอุด วัดโตนดหลวง ได้รับฉายาว่า ธมฺมวํโส