เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว ชุดกรรมการ เจ้าสัว2หน้า เททอง วัดกลาวบางแก้ว


ด้านหน้า            เนื้อเงิน             ด้านหลัง
  
                                                              เนื้อ เมฆพัตร

                                                        เนื้อสำริต ผสมชนวน

อยู่ในกล่องกำมะหยี่


เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว  ชุดกรรมการ เททอง วัดกลาวบางแก้ว เลข ๑๓๗

รายละเอียด:
เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว 
เจ้าสัว 2 หน้า ( รุ่นแรก )

ภาพพิธีเททอง ณ มณฑลพิธีวัดกลางบางแก้ว ในวันที่ ๕ ธันวคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา



        1. พิธีบวงสรวงนำฤกษ์

        2. หลวงพ่อบุญช่วย เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว นำชนวนหลวงปู่บุญจากพิพิธภัณฑ์ร่วมเททอง

        3. หลวงพ่อสัญญานำชนวนหลวงปู่บุญร่วมเททอง

        4. หลวงพ่อบุญช่วย เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว ,หลวงพ่อสัญญา วัดกลางบางแก้ว,หลวงพ่อลำเจียก วัดท่าเสา,หลวงพ่อหนู วัดไผ่สามเกาะ ร่วมเททอง

        เหรียญเจ้าสัว ๒หน้า รุ่นแรกนี้ ประกอบไปด้วยเนื้อทองคำ(เหรียญเดี่ยว)และจัดเป็นชุดกรรมการ ประกอบด้วยเนื้อเงิน ,เนื้อสำริดผสมชนวน และเนื้อเมฆพัตร ซึ่งมีการหล่อขึ้นเป็นครั้งแรก

         ส่วนพิมพ์หน้าเดียว ประกอบด้วย เนื้อสำริดผสมชนวน แบบช่อ(๙ องค์),เนื้อขี้นกเขาเปล้าหลังฝังผงยาจินดามณี ,เนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ผสมขี้นกเขาเปล้า หลังฝังผงยาฯ,เนื้อสำริดผสมชนวนหลังฝังผงยาฯ

          พระเจ้าสัว พิมพ์ ๒หน้ารุ่นนี้นับได้ว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการตั้งสำนักวัดกลางบางแก้วขึ้นมา นับว่าเป็นรุ่นแรกของประเทศไทย รวมถึงเนื้อเมฆพัตรก็มีการจัดสร้างเป็นครั้งแรกเช่นกัน เททองและปลุกเสกที่วัดกลางบางแก้ว



ภาพพิธีเททองหล่อเจ้าสัว๒หน้า รุ่นแรก ณ.วัดกลางบางแก้ว ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕พร้อมกันกับพิธีมหาพุทธาภิเษกเหรียญเจ้าสัวรุ่น ๓ โดยมีชนวนมวลสารเก่าของหลวงปู่บุญจาก หลวงพ่อบุญช่วย เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว ซึ่งท่านนำชนวนเก่าของหลวงปู่บุญ มาเป็นประธานเททองในมณฑลพิธีข้างโบสถ์และวิหารบูรพาจารย์วัดกลางบางแก้ว พร้อมๆกันนั้นหลวงพ่อสัญญา(คง) วัดกลางบางแก้ว ลูกศิษย์หลวงปู่เพิ่ม หลานชายหลวงปู่เจือ ก็นำชนวนเก่าของหลวงปู่บุญหลวงปู่เพิ่ม รวมทั้งชนวนเหรียญเจ้าสัวรุ่นต่างๆที่ท่านและหลวงปู่เจือเคยจัดสร้างมาร่วมเททองด้วย อีกทั้งหลวงพ่อลำเจียก ศิษย์เอกหลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา กระทุ่มแบน ซึ่งเป็นพระหลานชายของหลวงปู่บุญ ได้นำชนวนหลวงปู่บุญที่วัดท่าเสามีมาลงเทด้วย ทำให้เหรียญเจ้าสัวสองหน้ารุ่นนี้ กลายเป็นเหรียญที่รวมชนวนหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้วทุกรุ่นได้มากที่สุด ขณะเดียวกันศิษย์ฆาราวาสสายวัดสุทัศน์ก็มอบชนวนพระกริ่งปิดเบ้าของท่านอาจารย์กิจจา วาจาสัจ ซึ่งเป็นชนวนรวมของสมเด็จพระสังฆราชแพทุกรุ่นมาร่วมเทอีก และคุณเนาว์ นรญาน ได้นำชนวนของกริ่งอินทขิล ซึ่งอุดมไปด้วยชนวนกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่ได้มาจากคุณชินพร สุขสถิต และ ชนวนสายคุณแม่บุญเรือนมาร่วมเทเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีชนวนมวลสารอื่นๆอีกมากมายเพิ่มเติมลงไป มากไปกว่านั้นยังมีแผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์อันทรงมนต์ขลังต่างๆทั่วประเทศถูกหล่อหลอมไปในคราวนี้ด้วย จึงทำให้เหรียญเจ้าสัว ๒หน้ารุ่นแรกนี้กลายเป็นเหรียญเจ้าสัวรุ่นพิเศษไป

และแต่ละหน้าแทนความหมายแต่ละอย่างดังนี้ 
๑. ชนวนมวลสารมาจาก ๒ สำนักใหญ่ที่มีชื่อเสียงทางด้านพระหล่อและทั้ง ๒สำนักนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด นั่นคือ สำนักวัดกลางบางแก้วและสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม เพราะสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่บุญ
๒. เหรียญเจ้าสัว ๒หน้านี้ หน้าที่หนึ่งคือวัดกลางบางแก้วช่วยหน้าที่๒คือวัดท่าเสา
๓. เททองและมหาพุทธาภิเศกในวันพิเศษ ๒ วันคือ วันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๕ ธ.ค. พ.ศ.๒๕๕๕ ซึงเป็นวันมหามงคลของชาวไทยและพุทธาภิเษกออกให้บูชาในวันตรุษจีน ๙และ๑๐ ก.พ. พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันมงคลของชาวจีน



เหรียญเจ้าสัว ๒ หน้ารุ่นแรกนี้ ประกอบไปด้วย
๑.พิมพ์ ๒ หน้า เนื้อทองคำ เนื้องิน เนื้อสำริด และ เนื้อเมฆพัตร ซึ่งมีการหล่อขึ้นเป็นครั้งแรกทีเดียว
๒.พิมพ์หน้าเดียว หลังฝังผงยาจินดามณี เนื้อสำริด เนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ผสมขี้นกเขาเปล้า เนื้อขี้นกเขาเปล้า
พระเจ้าสัว พิมพ์ ๒หน้ารุ่นนี้นับได้ว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการตั้งสำนักวัดกลางบางแก้วขึ้นมาและเกิดขึ้นเป็นรุ่นแรกของประเทศไทย รวมถึงเนื้อเมฆพัตรด้วย ที่มีการจัดสร้างเป็นครั้งแรกเช่นกันเททองและปลุกเสกที่วัดกลางบางแก้ว