ตะกรุด วัดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นเสาร์ ๕(หลวงปู่วาส สีลเตโช)วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี





     ตะกรุด วัดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นเสาร์ ๕(หลวงปู่วาส สีลเตโช) 
วัดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
ขนาด ยาว 4 นิ้ว  (พร้อมพระคาถาผูกตะกรุด)

                                                    รายการที่นี่  หน้าหลัก

รายละเอียด:
วัตถุมงคลเสาร์ 5 - มหามงคล หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง



พุทธคุณ
พระภควัมบดีหรือพระปิดตาและตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม นอกจากจะพบว่ามีพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีแล้ว ยังให้ผลทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยมด้วย ชาวบ้านหรือใครที่ได้รับพระปิดตาและตะกรุดของหลวงปู่ไปแล้ว มีความเชื่อมั่นและยึดมั่นเป็นอย่างยิ่ง ระยะนั้นเสือปล้นและนักเลงชุกชุมมาก แต่ชาวบ้านหาได้เกรงกลัวไม่ ถ้าถูกปล้นจี้ก็จะจับอาวุธเข้าสู้ เมื่อโดนยิงแล้วไม่เข้ายิ่งใจใหญ่ท้ายที่สุดขุนโจรมีอันต้องล่าถอยไปเองด้วยบารมีของหลวงปู่เอี่ยม


คําขวัญใหม่ประจำจังหวัดนนทบุรีมีว่า "ทุเรียนเหนือชั้น เครื่องปั้นดินเผา เมืองเก่าวัดงาม ตลาดน้ำน่าชม รื่นรมย์สวนสมเด็จ เกาะเกร็ดงามตา พฤกษานานาพันธุ์ บ้านจัดสรรเป็นเลิศ" ถือเป็นจังหวัดที่ใกล้กรุงเทพฯ แค่เอื้อม

วัดวาอารามยังคงเอกลักษณ์วัดเก่าสมัยอยุธยาตอนปลายถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นได้อย่างสมบูรณ์

"วัดสะพานสูง" เป็นวัดหนึ่งที่มีทั้งพุทธศิลป์ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ครบถ้วน เดิมชื่อ "วัดสว่างอารมณ์" สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อจากวัดสว่างอารมณ์มาเป็นชื่อ "วัดสะพานสูง" นั้น คนเก่าแก่เล่าสืบทอดกันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้เสด็จออกตรวจการคณะสงฆ์และได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่าง อารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน 2 ชื่อ

ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่า วัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็นวัดสะพานสูง จนตราบเท่าทุกวันนี้

นอกจากนั้น วัดสะพานสูง ยังเป็นวัดที่สร้างชื่อเสียงให้เมืองนนทบุรี ในนาม "พระปิดตาจุ่มรัก สูตรวัดสะพานสูง" สร้างโดย "หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม" บรรดาเซียนพระบรรจุให้เป็นหนึ่ง ในพระชุดเบญจภาคีพระปิดตา ประกอบด้วย 1.พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี 2.พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนท บุรี 3.พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตร พิมุข) กรุงเทพฯ 4.พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี 5.พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา



ฤกษ์ดีเสาร์ 5 ปีนี้มีเพียงวันเดียว ซึ่งตรง กับวันที่ 23 เมษายน 2554 นักษัตรที่ 20 มหัทธโนฤกษ์ วันมฤคโชค ราชาโชค กระทิงวัน สายเลือดหลวงปู่เอี่ยมองค์หนึ่งในยุคปัจุบันคือ "หลวงปู่วาส" วัดสะพานสูง ปัจจุบันสิริอายุ 96 ปี ท่านมีเชื้อสายเป็นหลานหลวงปู่เอี่ยม เพราะท่าน เป็นหลานทวดอิ่ม ที่เป็นน้องสาวของหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่วาสสืบวิชาสายหลวงปู่เอี่ยมอย่างครบถ้วน

"หลวงปู่วาส" ได้ดำริและมอบหมายให้ "พระครูกิตติวิริยาภรณ์" เจ้าคณะอำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างวัตถุมงคลและประกอบพิธีมหาพุทธา ภิเษกในวันเสาร์ 5 ในรูปลักษณ์ "พระปิดตาเสาร์ 5 สะพานสูง" ด้วยการนำผงเก่าเชื้อสายหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ชั้นหัวกะทิมีพุทธคุณสูงสุดครอบจักรวาล สร้างพระปิดตาตำรับวัดสะพานสูงขนานแท้ดั้งเดิม ฝังพระปรกใบมะขามองค์จ้อย เพื่อให้มีพุทธคุณครบถ้วนทุกด้าน ทั้งมหานิยมมหาเสน่ห์เมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย รวมเรียกว่าครอบจักรวาล นำมาจุ่มรักน้ำเกลี้ยง ตามตำรับหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนามองค์บูรพาจารย์ และองค์หลวงทวดของหลวงปู่วาส นอกจากนั้น ยังจัดสร้าง "เบี้ยแก้เสาร์ 5 รุ่นแรก" หลวงปู่วาสท่านทำเบี้ยแก้เป็นยอดวิชา ที่ท่านเรียนมาจากท่านอาจารย์แปลก ร้อยบาง ลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม ลูกศิษย์ลูกหารอคอยกันมานาน เพราะเมื่อ 20 ปีก่อน หลวงปู่วาสได้หุงปรอทด้วยการสูญไฟเครื่องเป่าลมแบบโบราณ โดยว่าคาถาปลุกกำกับให้ปรอทเป็น ท่านหุงและกำกับพระคาถาทับถมที่ปรอทถึง 84 ครั้งเท่าจำนวนพระธรรมขันธ์

ครั้งสุดท้าย หลวงปู่วาสหุงและว่าคาถาปลุกจนปรอทนั้นระเบิด เป็นลูกไฟอย่างน่าอัศจรรย์ ปรอททั้ง หมดท่านได้กรอกใส่ขวดและปลุกเสกมานานถึงปัจจุบัน นำแม่ปรอทที่ศักดิ์สิทธิ์ทำเบี้ยแก้เสาร์ 5

วัตถุมงคลอีกอย่างที่จัดสร้าง "เหรียญ นั่งพาน" เป็นเหรียญสวยเหรียญหลักของหลวงปู่วาส เหรียญนั่งพานนี้มีพุทธคุณทางด้าน ยกดวงชะตา เสริมดวง เสริมโชควาสนาให้สูงขึ้นอยู่แล้ว ที่ด้านหลังลงยันต์มงกุฎพระเจ้า ที่มีอานุภาพครอบจักรวาล เป็นมงคลหรือป้องกันสรรพภัยได้ร้อยแปด ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ


รายได้จากการนี้ หลวงปู่วาส มอบให้บริจาคการองค์กรกุศลต่างๆ ตามที่ท่านเห็นสมควร อาทิ เมื่อปี 2552 หลวงปู่วาสได้บริจาคปัจจัยที่คณะศิษย์ได้ร่วมทำบุญ จัดตั้งเป็นกองทุนเผยแผ่พระพุทธศาสนาวัน อาทิตย์วัดสะพานสูง เป็นจำนวนเงิน 450,000 บาท นำไปเป็นทุนการศึกษาส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มให้บุตรหลานชาวบ้านข้างวัดที่มีฐานะยากจน มีนายวิเชียร พุทธิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานร่วมแจกทุนดังกล่าวด้วย รวมทั้งทุนเรียนดีสำหรับนักเรียนที่สามารถสอบผ่านธรรมศึกษาชั้นตรี-โท และเอก รวมทั้งปรับแนวการเรียนการสอนธรรมศึกษาไม่ให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายด้วยการจัดสอนดนตรีไทยประเภทอังกะลุง และประเภทเครื่องสาย

ท่านได้สนับสนุนปัจจัยส่วนหนึ่งในการจัดหาเครื่องดนตรี รวมทั้งจัดให้มีการประกวดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดสะพานสูงในงานทำบุญปิดทองหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อทองสุข ประจำปี 2553 มีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในอำเภอปากเกร็ดและอำเภอใกล้เคียงร่วมส่งเข้าประกวดชิงถ้วยรางวัล

สำหรับการมอบทุนการศึกษาประจำปี 2553 หลวงปู่วาสยังได้มอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนยากจน ร่วมทั้งเด็กกำพร้า ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับปริญญาโท ทุกสาขาวิชา 




     "หลวงปู่วาส สีลเตโช วัดสะพานสูง" ปัจจุบันสิริอายุ 95 ปี เป็นพระเกจิอาจารย์ทายาทธรรมผู้สืบทอดพุทธาคมเกจิอาจารย์สายวัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี


      ท่านเป็นทายาทโดยสายเลือดของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง โดยเป็นเหลนของทวดอิ่ม ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวร่วมอุทรของหลวงปู่เอี่ยม
     นอกจากนี้ท่านยังมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างหนุมานอันเรื่องชื่อ โดยหลวงพ่อ สุ่น ท่านเป็นทั้งน้า และอา เกี่ยวโยงเป็นญาติกัน หลวงปู่วาส เป็นเกจิรูปเดียวใน ปัจจุบัน ที่นำวิธีการจารตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม มาจารตะกรุดโสฬสมงคล เรียกว่า "ตะกรุดลงถม" โดยนำเอาแผ่นโลหะตัดเป็นแผ่นกว้าง 4 นิ้ว คูณ 4 นิ้ว มาวางเรียงซ้อนกันเป็นตั้ง จำนวนนับร้อยๆ แผ่น
     เริ่มจากการจารยันต์มหาอุดของ "อาจารย์แปลก ร้อยบาง" ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน จากแผ่นบนสุด เมื่อแล้วเสร็จจะนำมาวางเรียงไว้ด้านล่างสุด จากนั้นก็จารแผ่นต่อมา ปฏิบัติเช่นนี้จนหมดทั้งตั้ง จากนั้นก็พลิกอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่ได้จาร แล้วเริ่มจารยันต์โสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม และปฏิบัติเช่นเดียวกับการจารยันต์มหาอุด ในการจารแต่ละแผ่นจะปลุกเรียกสูตร ตามตำราที่ครูบาอาจารย์ได้ครอบครูให้ไว้
     โดยท่านกล่าวว่า เมื่อจารตะกรุดแผ่นบนสุด พุทธานุภาพจากแผ่นบนสุดลงถึงแผ่นล่างสุด เปรียบเสมือนกับการปลุกเสกวัตถุมงคลที่แต่ละวัดได้กระทำกัน คือนำวัตถุมงคลมาวางซ้อนกันอยู่ตรงกลางพระอุโบสถ แล้วโยงสายสิญจน์ล้อมรอบกองวัตถุมงคลอยู่ภายในราชวัตรฉัตรธง มีเกจิอาจารย์นั่งล้อมโดยรอบแล้วบริกรรมพระคาถาปลุกเสก วัตถุมงคลนั้นๆ จะมีพุทธานุภาพถึงกันหมด
     การจารตะกรุด "ลงถม" ของหลวงปู่วาสนั้น ในแต่ละคืนท่านจะจารและปลุกเสกวันละหนึ่งแผ่น แต่จะปลุกเสกซ้ำอีกวันละ 16 ครั้ง โดยตะกรุดลงถมชุดปัจจุบันนี้ ท่านเริ่มจารและปลุกเสกตั้งแต่วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เมื่อวันที่ 20 มี..2553 และไปจบสิ้นในวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งตรงกับวันที่19 ..2553 ซึ่งเป็นตำราของหลวงปู่กลิ่น ที่ท่านจะจารตะกรุดยันต์เก้า ในวันดังกล่าวในพระอุโบสถของวัดสะพานสูง ซึ่งปัจจุบันหาได้ยากมาก
     นอกจากนี้ยังได้สร้างพระปิดตาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำเอาพระปิดตาเนื้อผงสายวัดสะพานสูง นำมาพิมพ์เข้ากับแผ่นตะกั่วซึ่งจารอักขระด้านเมตตาของครูบาอาจารย์สายวัดสะพานสูง มาพิมพ์เข้าด้วยกัน ซึ่งท่านได้กล่าวว่าอายุของท่าน 95 ปีแล้วยังไม่เคยเห็นเกจิรูปใดเคยจัดสร้างมาก่อน
     จึงนับได้ว่าเป็นการสถาปนาพระปิดตาดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเวลาผ่านไป 100 ปี 200 ปี ก็สามารถบอกกล่าวแยกแยะได้ว่าพระปิดตาองค์นี้เป็นพระปิดตาที่ท่านสร้างไว้ เป็นอนุสรณ์แห่งการสืบทอดพระศาสนา ซึ่งได้ปลุกเสกตั้งวันเสาร์ห้า เป็นต้นมา พร้อมกับการจารและปลุกเสกตะกรุด "ลงถม" ซึ่งจะไปจบสิ้นในวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9
      เมื่อวันเสาร์ 5 ที่ผ่านมา ท่านได้สร้างพระปิดตาขึ้นมา 1 รุ่น โดยนำเอาพระนาคปรก เป็นพระประจำวันเสาร์มาฝังที่พระอุระของพระปิดตา หมดจากกุฏิภายในชั่วข้ามคืน ซึ่งมีผู้กล่าวขวัญตั้งชื่อว่าพระปิดตาเสาร์ห้ารุ่นไอ้ติม เนื่องจากยางรักที่ทานั้นยังไม่แห้งและยังเสียบไม้อยู่ผู้ที่มาร่วมพิธีกลัว ว่าถ้ารอให้แห้งจะหมดเสียก่อนจึงเช่ากลับไปทั้งๆ ที่ยังไม่แห้ง